กระดังงาไทย

กระดังงาไทย

ชื่ออื่น ๆ : กระดังงาไทย, กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่, กระดังงาไทย, กระดังงา(ภาคกลาง), สะบันงาต้น, สะบานงา, สะบานงา(ภาคเหนือ), กระดังงา, กระดังงอ(ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Perfume Tree, llang-llang,Ylang-Ylang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระดังงาไทย เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือกลำต้นของมันจะเป็นสีเทาเกลี้อง
  • ใบกระดังงาไทย มีสีเขียวอ่อน ใบบางนิ่ม รูปลักษณะของมันยาว ส่วนปลายแหลม มีติ่ง โคนของใบมน กลม และใบจะออกเรียงสลับห้อยลง
  • ดอกกระดังงาไทย สีของดอกที่ออกมาใหม่สีเขียว พอแก่จัดก็จะเป็นสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอ่อน ลักษณะของดอกใหญ่ออกทีละ 3-6 ดอก กลีบดอกของมันยาวห้อยลง มีประมาณ 6 กลีบ กลีบชั้นนอก ปลายเรียวยาว ขอบของมันเป็นหยักเป็นคลื่น รูปกลีบแคบ กลีบยาวประมาณ 4-5 นิ้ว กลีบชั้นในจะสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย กลิ่นของดอกมีกลิ่นหอมฉุน
  • ผลกระดังงาไทย เป็นสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลืองคล้ำ ผิวของมันเรียบและผลออกเป็นพวง ประมาณ 4-14 ผล เป็นรูปรี

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอกที่แก่จัด (สีเหลืองอ่อน) ใบ, เนื้อไม้

สรรพคุณ กระดังงาไทย :

  • ดอกแก่จัด ใช้เป็นยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
  •  ใบ, เนื้อไม้ ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ

ข้อมูลเพิ่มเติม : 

สารเคมีที่พบ : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl benzoate p-totyl methylether, methylether, benzyl acetate

Scroll to top