ชื่อสมุนไพร : กลิ้งกลางดง
ชื่ออื่นๆ : ว่านสามพันตึง, ว่านพระฉิม, มันขมิ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dioscorea bulbifera L.
ชื่อวงศ์ : DIOSCOREACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกลิ้งกลางดง ไม้เลื้อย มีรากสะสมอาหารเป็นหัวทรงกลมผิวมีทั้งชนิดขรุขระและเรียบ ต้นและกิ่งก้านเลื้อยพันกับสิ่งที่อยู่ใกล้ มีอายุการเจริญเติบโตฤดูกาลเดียว ในช่วงฤดูแล้งความชื้นไม่พอเถาจะแห้งตายเหลือไว้แต่หัวไต้ดิน เมื่อมีความชุ่มชื้นพอในฤดูฝนต้นจะเจริญขึ้นมาใหม่ หัวหรือรากสะสมอาหารนี้หากทำให้เกิดบาดแผลจะมีน้ำยางใสสีแดงไหลซึม การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ
- ใบกลิ้งกลางดง เป็นใบเดี่ยว ทรงใบรูปไข่แกมหัวใจ ปลายใบแหลมมีติ่งหาง โคนมนกว้างเว้าลึกเป็นติ่งหู ขอบใบและแผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ขนาดประมาณ 9×13 เซนติเมตร ผิวใบด้านใต้มีขนเล็กน้อย
- ดอกกลิ้งกลางดง ออกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4 – 16 เซนติเมตร กลีบดอกสีส้ม ช่อดอกตัวเมียอัดกันแน่นมากกว่า
- ผลกลิ้งกลางดง เป็นผลสด รูปไข่กลับ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ใบ, ดอก, ราก, หัวใต้ดิน
สรรพคุณ กลิ้งกลางดง :
- เถา ใช้เถาขับพยาธิ ขับโลหิตระดู กระจายลมที่แน่นในอก
- ใบ บำรุงธาตุ รักษาแผลสด และแผลเรื้อรัง
- ดอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยย่อยอาหาร
- ราก บำรุงเส้นประสาท
- หัวใต้ดิน ดองเหล้ากินบำรุงกำลังขับเสมหะ บำรุงกำหนัด หรือตากแห้ง บด ปั้นเป็นลูกกลอนกินเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม รักษาโรคมะเร็งต่างๆ โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคปวดศีรษะ
แก้ฝีกาฬที่มีพิษร้าย
ฝนกับน้ำซาวข้าวและเพชรหึงกินและทาแก้ฝีหัวเดียว แก้พิษร้อน แก้ปวดเมื่อยตามข้อตามร่างกาย
ข้อมูลเพิ่มเติม :
วิธีใช้หัวอยู่ใต้ดิน :
*นำมาดองสุรา ดื่มบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด รักษามะเร็ง ขับลม
*นำมาตากแห้ง บดปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหารรักษา โรคต่างๆโรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคปวดศีรษะ
*ฝนกับว่านเพชรหึงใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรค ฝีกาฬ และระงับพิษร้อนเย็นได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.