สิงหโมรา

สิงหโมรา

ชื่อสมุนไพร : สิงหโมรา
ชื่ออื่นๆ
: ผักหนามฝรั่ง (กรุงเทพฯ), ว่านสิงหโมรา (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrtosperma Johnstonii N.E.Br.
ชื่อวงศ์ ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสิงหโมรา เป็นไม้ล้มลุก ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นสั้นพ้นผิวดินขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ลำต้นเป็นสีชมพูอ่อน
    สิงหโมรา
  • ใบสิงหโมรา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก แทงออกมาจากหัวใต้ดิน ลักษณะของใบเป็นรูปเงี่ยงสิงหโมราใบหอกถึงรูปหัวลูกศร ยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปเงี่ยงลูกศร ส่วนขอบใบเรียบ ท้องใบและหลังใบเรียบ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีจุดประสีขาว สีเขียว สีน้ำตาล และชมพู ส่วนขอบก้านใบมีหนามทู่ เส้นใบเป็นสีชมพูสดเมื่อยังเป็นใบอ่อน แผ่นใบมีแต้มสีน้ำตาลแดง เส้นใบเป็นสีเขียวถึงสีน้ำตาล โคนใบเป็นพูยาว กาบใบเป็นรูปเรือ สีม่วงเข้มด้านนอก สีเขียวแกมเหลืองด้านใน
  • ดอกสิงหโมรา ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งกลมยาว แทงออกมาจากกาบใบ ดอกย่อยส่วนใหญ่จะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีใบประดับขนาดใหญ่คล้ายกาบสีน้ำตาลหุ้มอยู่ด้านหนึ่ง
  • ผลสิงหโมรา เป็นผลสด จะมีเนื้อนุ่มหุ้มข้างนอก ส่วนข้างในจะมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมาก
  • ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด พบได้ตามบริเวณลำธารที่พื้นดินเป็นโคลนเลนตามป่าดิบชื้นทั่วไปที่ร่มร่ำไร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าหัว, ต้น, ใบ, ทั้งต้น, ก้านใบ

สรรพคุณ สิงหโมรา :

  • เหง้าหัว รสร้อน ใช้ฝนกับน้ำหรือฝนกับสุราแล้วนำไปปิดปากแผลที่แมงป่องหรือตะขาบกัดต่อยจะบรรเทาอาการปวดได้ และช่วยบำรุงโลหิต
  • ทั้งต้น รสร้อน ดองกับสุราดื่มเป็นยาขับน้ำคาวปลา บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้โรคอยู่ไฟไม่ได้ หรือโดนเลือดลมกระทำเป็นเหตุให้ผอมแห้งแรงน้อย
  • ต้นและใบ รสร้อน บำรุงโลหิตและรักษามดลูกสำหรับสตรีคลอดบุตรใหม่ เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ แก้โรคโลหิตจาง ซูบซีด หน้ามืด เป็นลมวิงเวียนบ่อยๆ โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆ ผสมมะตูมอ่อนและกล้วยน้ำว้าห่ามดองกับสุรา 15 วัน หรือบดเป็นผงละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1 เม็ด 2 เวลา เช้า-เย็น
  • ก้านใบ รสร้อน เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงโลหิต เหมาะสำหรับสตรี โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆ ดองกับสุราไว้ดื่ม
Scroll to top