กระจับนก

กระจับนก

ชื่อสมุนไพร : กระจับนก
ชื่ออื่น ๆ
: ตานขี้ม้า, มะหากาหลัง(เหนือ), นางใย, อึ่งเปาะ(อุบลราชธานี), มะดะ, คอแห้ง, มะหากาหนัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euonymus cochinchinensis Pierre.
ชื่อวงศ์ CELASTRACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระจับนก เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 6-10 เมตร มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว เปลือกต้นบางเป็นสีน้ำตาลครีม มีร่องแตกตามยาวแคบ ๆ แตกกิ่งก้านเล็ก สีเขียว 
  • ใบกระจับนก เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร
    กระจับนก
  • ดอกกระจับนก สีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน
    กระจับนก
  • ผลกระจับนก ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ดูคล้ายระฆังคว่ำ ยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายผลนูน โคนผลจะเล็กกว่าปลายผล ปลายผลหยักเว้าเป็นพู 5 พู ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่จะเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม เมื่อผลแก่จัดจะแตกออกเป็น 5 ซีก โดยจะแตกตรงกลางพู แต่ละซีกมีเมล็ด 1 เมล็ด
    กระจับนก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ราก

สรรพคุณ กระจับนก :

  • เปลือกต้น นำเอามาดองหรือแช่ในสุรา ใช้ดื่มกินก่อนอาหารจะทำให้อยากอาหาร รับประทานอาหารได้มาก
  • ราก นำมาแช่น้ำ หรือฝนน้ำ รับประทาน แก้อาการผิดสำแดง (รับประทานอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ อาจมีอาการท้องเสีย) แก้อาการเมาเห็ด
Scroll to top