กระทงลาย

กระทงลาย

ชื่ออื่น ๆ : กระทงลาย, กระทุงลาย, โชด(ภาคกลาง), มะแตก-เครือ, มักแตก, มะแตก(ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), นางแตก(นครราชสีมา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celastrus paniculatus willd.
ชื่อวงศ์ CELASTRACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระทงลาย เป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง
  • ใบกระทงลาย เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก ละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผินเรียบใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร
  • ดอกกระทงลาย ออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยกกันคนละต้น ลักษณะของดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก รูปค่อนข้างกลม มีขนขึ้นประปราย ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวราว 2-2.5 มิลลิเมตร สำหรับดอกเพศเมียจะมีลักษณะฐานดอกและกลีบรองกลีบดอก จะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมียยาวราว 2-2.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรมี 3 พู
  • ผลกระทงลาย มีลักษณะค่อนข้างกลม ปลายผลมียอดเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร แต่พอผลแก่เต็มที่เกสรอยู่ปลายผลก็จะหลุดออก ผลแตกออกเป็นห้อง 3 ห้อง
  • เมล็ดกระทงลาย เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดง เมล็ดเป็นรูปรี มีความกว้างราว 2-3 มิลลิเมตร ยาวราว 3.5-5 มิลลิเมตร
    กระทงลาย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล, เมล็ด, เปลือก, ลำต้น

สรรพคุณ กระทงลาย :

  • ใบ ใช้เป็นยาแก้โรคบิด กระตุ้นประสาท และใช้เป็นถอนพิษฝิ่น วิธีใช้ด้วยการต้ม หรือคั้นเอาน้ำกิน
  • ผล ใช้เป็นยาแก้ลมจุกเสียด บำรุงเลือด และใช้เป็นยาถอนพิษงู
  • เมล็ด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอก หรือกิน เป็นยาแก้โรคอัมพาต และโรคปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ยาแก้ไข้ เมื่อคั้นเอาน้ำมันจากเมล็ด ใช้เป็นยาแก้โรคเหน็บชา ขับเหงื่อ
  • เปลือก ใช้เป็นยาทำแห้ง
  • ลำต้น ใช้เป็นยาแก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย
Scroll to top