กระพังโหม

กระพังโหม

ชื่อสมุนไพร : กระพังโหม
ชื่ออื่นๆ
: หญ้าตดหมา (ลำปาง), ตะมูกปาไหล (อุดรธานี-อีสาน), กระเยีวเผือ(สกลนคร-อีสาน),ผักไหม(เชียงใหม่-เหนือ), เครือไส้ปลาไหล(มหาสารคาม -อีสาน), ตดหมูตดหมา(เหนือ,กลาง) พาโหม (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paederia foetida  Linn.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระพังโหม เป็นพืชไม้เถาเลื้อยประเภทล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็กเลื้อยตามพื้นดินหรือเลื้อยพันกับต้นไม้ชนิดอื่น ลำต้นและใบมีลักษณะเป็นยางสีขาวถ้าขยี้แล้วดมจะได้กลิ่นเหม็น
    กระพังโหม
  • ใบกระพังโหม มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ลักษณะที่อยู่ตรงกันข้าม ใบสีเขียวเนื้อใบบาง มีก้านใบสั้นเส้นใบโค้งถึงขอบใบ ใบกว้างประมาณ 3-25 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
    ใบกระพังโหม กระพังโหม
  • ดอกกระพังโหม ออกเป็นช่อมีขนาดเล็กอยู่บริเวณซอกใบแต่ละช่อดอกประกอบด้วย 2-3ดอก กลีบเลี้ยงมีขาดล็กปลายกลีบเลี้ยงลีและแยกกันมีประมาณ 5 กลีบ กลีบด้านนอกลักษณะสีขาวกลีบด้านในสีม่วงแดงหรือสีชมพูประด้วยสีม่วงจุดสีน้ำตาล เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อันอยู่ตรงกลางดอก
    กระพังโหม ดอกกระพังโหม
  • ผลกระพังโหม ลักษณะฝักยาวสีเขียวยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.6 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, เถา, ใบ, ดอก, ผล, ราก, เปลือก

สรรพคุณ กระพังโหม :

  • ทั้งต้น ใช้รักษาอาการอักเสบบริเวณคอปาก รักษาบาดแผล แก้บิดไข้รากสาด
  • เถา ใช้แก้ไข้ รักษาบาดแผล ระบายอ่อนๆ ใช้รักษาโรคไขข้อ แก้ซาง แก้ท้องเสีย แก้ไข้ตัวร้อน รักษารำมะนาด ขับพยาธิไส้เดือน
  • ใบ ตำใช้แก้ปวดฟัน ตำพอกแก้พิษงู แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน แก้ธาตุพิการ แก้คัน
         ต้มและตำให้ละเอียดวางลงบนท้องช่วยในการขับปัสสาวะได้
         น้ำต้มจากใบให้นำผ้าสะอาดมาชุบแล้ววางบนศีรษะจะช่วยให้ไข้ลดลง
  • ดอก ใช้ขับน้ำนมและแก้ไข้จับสั่น
  • ผล ใช้แก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้ริดสีดวงทวาร ขับน้ำนม
  • ราก ใช้แก้โรคดีซ่าน
         น้ำต้มจากรากใช้ในการขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือก ต้มดื่มทำให้อาเจียนได้

ข้อมูลเพิ่มเติม :

กระพังโหม มีหลายพันธุ์ ชนิดใบใหญ่รูปไข่ มีขนสั้นๆปกคลุมเรียกว่า ตูดหมูหรือตดหมู หรือ กระพังโหมใหญ่ ชนิดใบเล็กเรียวยาวหรือรูปหอกเรียกว่า ตดหมา หรือ กระพังโหมเล็ก ชนิดใบใหญ่ไม่มียางไม่มีขนกลิ่นเหม็นอ่อนๆเรียกว่า ย่านพาโหม

Scroll to top