ชื่อสมุนไพร : กระพี้จั่น
ชื่ออื่นๆ : จั่น, พี้จั่น, ปี้จั่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana Kurz
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE–PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกระพี้จั่น เป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป
- ใบกระพี้จั่น ประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง
- ดอกกระพี้จั่น รูปออกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกตามกิ่งและง่ามใบ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบ ช่อยาว 7-22 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีม่วงดำ กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8-1 ซม. ดอกคล้ายดอกถั่วสีม่วงแกมขาว
- ผลกระพี้จั่น เป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 9-12 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ 1-4 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, เนื้อไม้, เปลือกต้น, แก่น
สรรพคุณ กระพี้จั่น :
- เนื้อไม้ ช่วยบำรุงเลือด
- ลำต้น ยาพื้นบ้านอีสานใช้ต้มดื่มบำรุงเลือด
- เปลือกต้น ต้มน้ำใช้ชำระล้างบาดแผลเรื้อรัง
- แก่น เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงธาตุและช่วยเจริญอาหาร