ชื่อสมุนไพร : กระเจานา
ชื่ออื่นๆ : ขัดมอญตัวผู้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กระเจา, เส้ง, ปอเส้ง (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corchorus aestuans L.
ชื่อวงศ์ : TILIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกระเจานา เป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน
- ใบกระเจานา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร
- ดอกกระเจานา ช่อดอกแบบช่อเชิงลด มีเพียง 2-3 ดอก ออกตรงข้ามกับใบ ดอกสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปแถบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่มีขน
- ผลกระเจานา ผลรูปทรงกระบอก มีตุ่มที่ปลาย กว้าง 4-5 มิลลิเมตร ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีครีบตามยาวผล 6 ครีบ ปลายผลแตกออกเป็น 3 แฉก แต่ละแฉกปลายมี 2 จัก มีเมล็ดมาก
- เมล็ดกระเจานา สีน้ำตาลเข้ม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด, ใบ
สรรพคุณ กระเจานา :
- เมล็ด รสเมาเบื่อ ใช้เบื่อสุนัขได้
- ใบ รสขมเล็กน้อย ต้มดื่มแก้ร้อนใน ทำให้เลือดเย็น พอกแก้พิษ แก้บวม ทาแก้ผิวหน้าแดงบวม แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้เจ็บคอ แก้พิษปลาปักเป้า (นิยมใช้ ชนิดฝักยาว) สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน