กลึงกล่อม

กลึงกล่อม

ชื่ออื่น : กลึงกล่อม, กระทุ่มกลอง, กระทุ่มคลอง, กลึงกล่อม, ชั่งกลอง, ท้องคลอง (ราชบุรี), กำจาย (นครสวรรค์, ประจวบคีรีขันธ์), ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์), จิงกล่อม (ภาคใต้), ช่องคลอง (กาญจนบุรี), น้ำนอง (ปัตตานี, ภาคใต้), น้ำน้อย (เลย), ผักจ้ำ, มะจ้ำ (ภาคเหนือ), มงจาม (อ่างทอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • กลึงกล่อม เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 ม. แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง มีช่องอากาศเป็นตุ่มสีเทาอมชมพูกระจัดกระจายทั่วไป ตามกิ่งแก่ขนาดใหญ่หรือเปลือกลำต้นมักย่นเป็นสันนูนขรุขระไม่เป็นระเบียบ
  • ใบกลึงกล่อม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.7-3.5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายแหลม โคนสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบแต่มักย่นเป็นคลื่นหรือม้วนงอขึ้นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หรืออาจมีขนสั้นๆ เหลืออยู่ตามเส้นกลางใบ ใบแห้งด้านบนสีเทา ด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน ก้านใบยาว 1-3 มม.
  • ดอกกลึงกล่อม ดอกออกเดี่ยวๆ ตามด้านข้างของกิ่ง ตรงข้ามหรือเยื้องกับใบ หรือออกเหนือง่ามใบเล็กน้อย ก้านดอกเรียว ยาว 1.3-3.2 ซม. มีใบประดับเล็กๆ ติดอยู่ใกล้โคนก้าน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.6 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่ ด้านนอกมีขน กลีบดอกสีเหลืองอมน้ำตาล เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง กลีบดอกชั้นในยาวประมาณ 1 ซม. และใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นนอก กลีบด้านนอกมีขนประปราย เกสรเพศผู้เล็ก มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม
  • ผลกลึงกล่อม ผลเป็นผลกลุ่มมีจำนวนมาก อยู่บนแกนตุ้มกลม ก้านช่อผลยาว 2-4 ซม. แต่ละผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. ผิวเรียบ สีเขียว เมื่อสุกสีแดง ก้านผลยาว 0.7-1.2 ซม. มี 1-2 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เนื้อไม้, ใบและกิ่ง

สรรพคุณ กลึงกล่อม : 

  • ราก, เนื้อไม้ รสขมสุขุม ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย ขับพิษภายใน
  • ใบและกิ่ง พบสาร suberosol ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ในหลอดทดลอง
Scroll to top