การเวก

การเวก

ชื่ออื่นๆ :  การเวก, กระดังงัว, กระดังงาป่า (ราชบุรี) ; หนามควายนอน (ชลบุรี) ; กระดังงาเถา (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์Artabotrys siamensis Miq.
ชื่อวงศ์ :  ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นการเวก เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมาจากเถา ยอดอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาล
  • ใบการเวก เป็นพุ่มหนาแน่นมาก เป็นพืชใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนาน หรือมนรี ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 15 – 18 เซนติเมตร กว้าง 5 – 10 เซนติเมตร ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสั้น เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก หน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่า และมีขนบ้างตามเส้นกลางใบ ยอดอ่อนมีขน
  • ดอกการเวก ออกตรงโคนใบ เป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะ ดอกเมื่อแรกออกเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบสองชั้นๆ ละ กลีบ และมีกลีบเลี้ยง กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง เป็นมัน ทรงกลีบแบนป่องกลาง โคนกลีบเว้าปลายค่อนข้างแหลม มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ
  • ผลการเวก ติดเป็นกลุ่ม 4 ถึง 20 ผล เปลือกสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง ในแต่ละผลมี 2 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, ใบ

สรรพคุณ การเวก :

  • ดอก ปรุงเป็นยาหอม  แก้ลมวิงเวียน กลีบดอกหนากลิ่นหอมแรง เมื่อลนไฟกลิ่นหอมรุนแรงยิ่งขึ้น เป็นสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมเย็น น่าพักผ่อนและหลับสบาย น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่น มีราคาแพงมาก
  • ใบ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

[su_quote]เคล็ดลับสำหรับการดมกลิ่นหอมจากดอกการเวกให้ได้ความหอมมากที่สุด คือเก็บดอกการเวกที่บานเต็มที่ แต่ยังไม่เป็นสีเหลือง เก็บในตอนเย็นแล้วห่อด้วยใบการเวก ทำเป็นรูปกรวยก้นปิด เปิดเป็นรูเล็กๆ เฉพาะตรงปลายแหลมของกรวย เอานิ้วอุดตรงรูไว้นานๆ แล้วเอาไปใกล้ๆจมูก เปิดนิ้วที่อุดรูไว้ รีบจ่อปลายกรวยเข้าในรูจมูกแล้วสูดแรงๆ จะรู้สึกถึงกลิ่นหอมของดอกการเวกเป็นอย่างมาก[/su_quote]

Scroll to top