กาลพฤกษ์

กาลพฤกษ์

ชื่อสมุนไพร : กาลพฤกษ์
ชื่ออื่น ๆ 
: กัลปพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ไชยพฤกษ์(ภาคกลาง), เปลือกขม(ปราจีน), กาลส์(เขมร)
ชื่อสามัญ : Horse Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia grandis Linn.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAR

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกาลพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-12 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง แต่ไม่หนาแน่นทึบ 

    กัลปพฤกษ์

  • ใบกาลพฤกษ์ ใบเป็นใบผสมมีใบย่อย 5-15 คู่ ใบย่อยมีรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก มีขนอ่อนปกคลุมใบทั้งหน้า-หลัง เป็นไม้ผลัดใบ ใบร่วงหล่นช่วงฤดูหนาว ราวพฤศจิกายน-มีนาคม

    กัลปพฤกษ์

  • ดอกกาลพฤกษ์ออกดอกหลังผลัดใบพร้อมแตกใบใหม่ ราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งเป็นช่อใหญ่ เต็มต้นดูงดงามมาก ดอกไม่มีกลิ่นหอม ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เมื่อเริ่มบาน แล้วเริ่มจางจนเป็นสีเกือบขาวเมื่อใกล้ร่วงโรย เกสรตัวผู้สีเหลือง อยู่กลางดอก ดอกบานกว้าง 2-5 เซนติเมตร

    กัลปพฤกษ์กัลปพฤกษ์

  • ผลกาลพฤกษ์ มีลักษณะเป็นฝักกลม ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม มีขนอ่อนปกคลุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ความยาว 25-40 เซนติเมตร เนื้อในฝักสีขาวปนเขียว

    กัลปพฤกษ์

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝัก, เปลือก, เมล็ด

สรรพคุณ กาลพฤกษ์ :

  • เนื้อในฝัก รสหวานเอียนขม ใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึก ไม่ไซ้ท้อง ระบายท้องเด็กและสตรีมีครรภ์ได้ดีมาก แก้พิษไข้ 
  • เปลือกและเมล็ด ใช้ทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เนื้อในฝัก – ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
ขนาดรับประทาน – รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงสู้คูนไม่ได้ สำหรับเนื้อในฝักกาลพฤกษ์นั้นมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเพราะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาที่ระบายแรงกว่า


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : 

  1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
  2. กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “กัลปพฤกษ์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=81
  3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กัลปพฤกษ์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1069
  4. สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กัลปพฤกษ์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=2690&view=showone&Itemid=59
Scroll to top