ก่อ

ก่อ

ชื่อสมุนไพร : ก่อ
ชื่ออื่นๆ :
ก่อเดือย, ก่อหนาม, ก่อแป้น,  ก่อหนัด, ก่อหัด, ก่อหลั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanopsis tribuloides (Sm.) A.DC.
ชื่อวงศ์ : Fagaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นก่อ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ มีมากกวา 80 ชนิด ลำต้นสูง ตั้งแต่ 15 – 35 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเหลือง แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ
    ก่อ
  • ใบก่อ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร โคนใบสอบเข้า ปลายใบเรียวแหลม มีส่วนย่นออกไปเป็นหาง ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน
  • ดอกก่อ ดอกสีเขียวครีมขนาดเล็ก ยาวประมาน 1 มิลลิเมตร ออกเป็นช่อตั้งขึ้น ยาว 10-15 เซนติเมตร กลีบรวม6กลีบ รูปขอบขนาน เกสรตัวผู้ 12 อันยาว 2 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้
  • ผลก่อ ลักษณะเกือบกลมรูปไข่ ลักษณะคล้ายหยดน้ำ ปลายแหลมเป็นติ่ง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร กาบหุ้มเมล็ดเป็นหนามแหลม ชนิดที่ผลมีหนามหุ้มเมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน จะได้รสหวานมันคล้ายลูกเกาลัด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในผล

สรรพคุณ ก่อ :

  • เนื้อในผล บำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร  แก้ร่างกายอ่อนแอ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : 

  1. เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้.
  2. คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์. 2540. ไม้อเนกประสงค์ กินได้.
  3. สมจิตร พงศ์พงัน และสุภาพ ภู่ประเสริฐ. 2534. พืชกินได้และพืชมีพิษในป่าเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.
Scroll to top