ก่อสร้อย

ก่อสร้อย

ชื่ออื่น : ก่อสร้อย, สนสร้อย, ส้มพอหลวง (เลย), ก่อหัด (เพชรบูรณ์), กำลังเสือโคร่ง (น่าน), เส่ปอบบล๊ะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carpinus viminea Wall.
ชื่อวงศ์ : BETULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นก่อสร้อย เป็นไม้ต้น สูงประมาณ 20 เมตร เปลือกสีเทา มีลายเป็นทางสีดำ กิ่งมีช่องอากาศเป็นตุ่มๆ จำนวนมาก ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อย
    ก่อสร้อย

  • ใบก่อสร้อย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นหางยาว โคนแหลม มนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบจักฟันเลื่อยซ้อนกัน 2 ถึง 3 ชั้น แผ่นใบค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบข้างละ 10-12 เส้น ตรงและขนานกัน เห็นได้ชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขน


  • ดอกก่อสร้อย ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้ออกตามง่ามใบ ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ห้อยลง ใบประดับรูปไข่ มีสันนูน ปลายแหลม มีขนตามขอบ อับเรณูมีขนยาวๆ กระจุกหนึ่งอยู่ด้านบน ช่อดอกเพศเมียออกที่ยอด ตั้งตรงหรือเกือบตรง ยาว 5-10 เซนติเมตร มีดอกห่างๆ ใบประดับรูปยาวแคบ

  • ผลก่อสร้อย ผลรูปไข่ ปลายแหลม ยาว 5-7 มิลลิเมตร เปลือกแข็ง มีเส้นนูนตามยาว 7-8 เส้น มีต่อมให้ยางเหนียวเป็นจุดๆ ใบประดับเจริญขึ้นเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาว 2-2.5 เซนติเมตร ข้างซ้ายและข้างขวามีขนาดไม่เท่ากัน มีเส้นนูน 3-4 เส้น ขอบจัก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือก

สรรพคุณ ก่อสร้อย :

  • เปลือก ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น เจริญอาหาร และขับลมในลำไส้
Scroll to top