ชื่อสมุนไพร : ข้าวฟ่างสมุทรโคดม
ชื่ออื่น ๆ : มกโคดม, มุทโคดม(ภาคใต้), ข้าวป้างนก, ข้าวป้างหางช้าง(ภาคเหนือ), เกาเลี้ยง, ฮวงซู่ (จีน)ม จังหันมะพุด, สมุทรโคดม (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Negro Guinea Grass, Millet Grass,Sorghum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sorghum bicolor (L.) Moench
วงศ์ : GRAMINEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ข้าวฟ่างสมุทรโคดม จัดเป็นพืชตระกูลหญ้า และยังจัดเป็นพืชปีเดียว ลำต้นทรงกระบอกแข็งตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 0.5-5 เมตร บริเวณข้อต้นจะมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม และอาจมีการแตกกอ หรือ ไม่มีการแตกกอจากข้อที่โคนลำต้นนอกจากนี้ยังมีรากพิเศษที่เจริญจากข้อล่างสุดของลำต้นช่วยในการหยั่งลงพื้นดิน โดยรากหยั่งลึกลงดินได้ตั้งแต่ 90-180 เซนติเมตร และมีระบบรากแผ่กว้างได้ถึง 1.5 เมตร
- ใบข้าวฟ่างสมุทรโคดม ออกเป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงสลับคล้ายใบหอก ลักษณะของใบจะแคบเป็นเส้นกว้างประมาณ 2-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-20 เซนติเมตร โคนใบตั้งตรงปลายใบโค้งลง แหลมคมเส้นกลางใบแข็ง ขอบใบ และหลังใบจะมีขนสั้นๆ ปกคลุมแต่บริเวณท้องใบไม่มีขน และจะมีไขสีขาวนวลติดอยู่
- ดอกข้าวฟ่างสมุทรโคดม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงบริเวณปลายยอดโดยดอกจะออกแยกกระจายออกจากกัน ความยาวของช่อดอกขึ้นกับสายพันธุ์ ตั้งแต่ 4-25 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกย่อยจะประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศที่ไม่มีก้านดอกย่อยจำนวน 1 ดอก ส่วนดอกอื่นๆ เป็นดอกเพศผู้ หรือ ดอกที่เป็นหมันซึ่งมีก้านดอกย่อย
- เมล็ด(ผล) เมล็ดข้าวฟ่างมีลักษณะกลม หรือ รี ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย ค่อนข้างแบนส่วนขนาด และสีแตกต่างกันไป ตามสายพันธุ์ มีตั้งแต่สีขาว สีขาวขุ่น สีเหลืองนวลไปจนถึงสีเหลือง สีชมพู สีแดง สีน้ำตาล สีน้ำตาลแดง ผลแก่จะมีเนื้อแข็ง ผิวภายนอกผลเป็นมัน ส่วนเมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลอกเทา และมีแป้งมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด และรากใช้เป็นยา เมล็ดจะเก็บเมมื่อต้นแก่แล้วฟาดเก็บเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ ส่วนรากนั้นจะใช้สด หรือแห้งก็ได้
สรรพคุณ ข้าวฟ่างสมุทรโคดม :
- เมล็ด จะมีรสชุ่ม บำรุงกายและให้พลังงาน รักษาโรคอหิวาตกโรค บิด ฝาดสมานลำไส้และกระเพาะอาหาร ช่วยขับปัสสาวะไม่มีพิษ
- ราก รสชุ่ม ยารักษาโรคประสาท ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ยารักษาอาการไอ หอบ แก้เจ็บกระเพาะอาหาร หรือเจ็บปวดบริเวณหน้าอก รักษาอาการปวดกระเพาะอาหาร และช่วยห้ามโลหิต ยาช่วยขับปัสสาวะ ช่วยในการเร่งคลอดทารก บรรเทาอาการตกเลือด
ข้อมูลเพิ่มเติม :
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- แก้ไอหอบ ใช้รากแห้ง 15 กรัม ตุ๋นน้ำตาลกรวดดื่ม
- แก้เจ็บกระเพาะอาหาร (ปวดเจ็บบริเวณหน้าอก) ใช้รากข้าวฟ่าง สดมาต้มน้ำดื่มตอนอุ่นๆ
- แก้โรคประสาท ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ร่วมกับเหล้าว่านน้ำเล็ก หญ้าปล้องจีน อย่างละ 15 กรัม ใบไผ่ขมจีน 5 ใบต้มน้ำดื่ม
- แก้เด็กระบบย่อยอาหารไม่ดี ใช้เมล็ดแห้ง 30 กรัม คั่วจนเหลืองผสมกับลูกพุทรา เอาเมล็ดออกคั่วจนเกรียมรวมบดเป็นผง เด็กอายุ 2 ขวบ กินครั้งละ 6 กรัม อายุ 3-5 ขวบ กินครั้งละ 10 กรัม วันละ 2 ครั้ง
- สตรีคลอดลูกยาก ใช้รากตากตากแห้ในที่ร่มเผาเป็นเถ้าแล้วบดเป็นผง กินครั้งละ 6 กรัม ผสมกับเหล้าดื่ม
- สตรีตกเลือด ตกเลือดหลังคลอดใช้รากสด 7 ต้น ผสมน้ำตาลทรายแดง 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม
- ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายโดยใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำดื่ม
- ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค บิด ช่วยฝาดสมานลำไส้ และกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำดื่ม
มีการนำส่วนต่างๆ ของข้าวฟ่าง มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ หลายด้านอาทิเช่น ใช้เมล็ดนำมาเป็นอาหารโดยสามารถนำมาต้ม คั่วทำเป็นโจ๊ก หรือ นำมาใช้ทำเป็นแป้งทำขนม หรือ อาหารต่างๆ และยังสามารถนำเมล็ดมาหมักกับเหล้าซึ่งจะได้เหล้าที่มีกลิ่นหอม หรือ อาจนำมาหมักทำเบียร์ และทำน้ำส้มสายชูก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถนำเมล็ดมาทำเป็นอาหารสัตว์ก็ได้
การศึกษาทางพิษวิทยาของข้าวฟ่าง
มีรายงานผลการศึกษาทางพิษวิทยาของต้นอ่อน และยอดอ่อนของข้าวฟ่างระบุว่า ต้นอ่อน ยอดอ่อน และผลสด มีสารไซยาโนเจเนติค กลัยโคไซด์ และมีมากสุดในต้นอ่อนอายุ 3 อาทิตย์ พออาทิตย์ที่ 7 ปริมาณก็จะลดลงเรื่อยๆ จนถึงระยะมีดอก สารนี้จะเหลือปริมาณน้อยมากข้าวฟ่าง ชนิดพันธุ์เบา อายุ 60 วัน ชนิดพันธุ์หนักอายุ 80 วัน
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สตรีมีครรภ์ห้ามทาน หรือ ใช้ข้าวฟ่างเป็นสมุนไพรเพราะมีฤทธิ์ยับยั้งกี่บีบรัดมดลูก และมีฤทธิ์เร่งคลอด นอกจากนี้การรับประทาน หรือ ใช้ข้าวฟ่างเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้เพราะเมล็ดมีเชื้อราจำพวก Rhizopus nigricans ซึ่งจะมีสารที่เป็นพิษ คือ สาร alfatoxin โดยหากเมื่อกินเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก เสียน้ำมาก และเป็นตะคริว