ชื่อสมุนไพร : ข้าวสารดอกเล็ก
ชื่ออื่น ๆ : เมือยสาร(ชุมพร) เคือคิก(สกลนคร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : raphistemma hooperianum Decne.
วงศ์ : ASCLEPIADACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นข้าวสารดอกเล็ก เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูง เกลี้ยง และมียางสีขาว
- ใบข้าวสารดอกเล็ก จะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะรูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ตรงปลายใบของมันจะแหลมเป็นหางยาว ส่วนขอบใบจะเรียว โคนใบเว้าทั้ง 2 ข้างจะห้อยเป็นรูปติ่งหู มีความกว้างประมาร 2-10.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร เนื้อในจะบาง ตรงด้านบนที่โคนเส้นกลางใบจะมีขนสั้น ๆ และจะออกเป็นกระจุก ก้านใบเรียวเล็กและยาว ประมาณ 2-7 เซนติเมตร
- ดอกข้าวสารดอกเล็ก จะออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.25-5.55 เซนติเมตร และมีก้านดอกยาวประมาร 1.25-3.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบรองกลีบดอกรูปนั้นรูปไข่ปลายมน ยาวประมาร 3-4 มิลลิเมตร ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน กลีบดอกนั้นจะมีอยู่ 5 กลีบ มีสีขาวก็จะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนดคนจะเชื่อมติดกันเป็นท่อยาวราว ๆ 8-9 มิลลิเมตร ตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ จะมีลักษณะยาวกว่าท่อดอกเล้กน้อย ที่ปลายของกลีบนั้นจะมีสีแต้มสีม่วงและจะบานเต็มที่มีความกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร เกสรจะมีสีขาว และยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร
- ผลข้าวสารดอกเล็ก ลักษณะผลจะเป็นฝักรูปไข่ แกมขอบขนานยาวราว 14 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก
สรรพคุณ ข้าวสารดอกเล็ก :
- ราก ใช้ปรุงเป็นยารักษาตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามั่ว
ข้อมูลเพิ่มเติม :
การกินของดอกข้าวสาร : ดอกตูมผลอ่อนและยอดอ่อนสามารถนำไปลวกต้มหรือนึ่งกินเป็นผักกินกับน้ำพริกได้ ส่วนดอกที่บานแล้ว นำไปแกงร่วมกับเนื้อสัตว์ต่างๆได้ เช่น ผัดกับน้ำมัน ยำ หรือ แกงส้ม ส่วนเมล็ดข้าวสาร ห้ามกิน เพราะมีสารcardiac glycoside ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย
ฤดูกาลของดอกข้าวสาร : ผลอ่อนจะออกช่วงปลายฤดูฝน ถึงต้นฤดูหนาว แต่ดอกจะออกช่วงฤดูฝน
แหล่งปลูกของดอกข้าวสาร : ดอกข้าวสารสามารถพบได้ ตาม บริเวณสวนที่รกร้าง หรือ ตามชายป่า ธรรมชาติ