งูเห่า

งูเห่า

งูเห่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Naja naja kaouthia Lesson
ชื่อสามัญว่า Thai cobra หรือ common cobra หรือ Siamwse cobra
จัดอยู่ในวงศ์ Elapidae

เป็นสัตว์วัตถุที่นำมาใช้ทำยา อยู่ในกลุ่ม “สัตว์บก” คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก และหากินบนบก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : คราบ, กระดูก, ดี, น้ำมัน

สรรพคุณ งูเห่า :

  • สรรพคุณ แก้โรคกระษัย ปวดเมื่อย แน่น เสียด บำรุงกำลัง (ก่อนปรุง ต้องย่างไฟเสียก่อน)

แพทย์แผนไทยรู้จักใช้คราบงูเห่า กระดูกงูเห่า ดีงูเห่า และน้ำมันงูเห่า นอกจากนั้นแพทย์ตามชนบทยังใช้งูเห่าทั้งตัวย่างไฟจนแห้งกรอบ  ดองเหล้ากินแก้ปวดเมื่อย  แก้ปวดหลัง  และแก้ผอมแห้งแรงน้อยในสตรีหลังคลอดบุตร  และใช้หัวงูเห่าสุมไฟให้เป็นถ่าน ปรุงเป็นยาแก้ชาชักในเด็ก  ลดความอ้วน  ว่ามีรสเย็นและเมา

  1. คราบงูเห่า  เป็นคราบที่งูเห่าลอกทิ้งไว้ ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ให้ยาขนานหนึ่งที่เข้า “คราบงูเห่า” เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้
    *ภาคหนึ่งยาทาตัวกุมาร กันสรรพโรคทั้งปวง แลจะเป็นไข้อภิฆาฎก็ดี  โอปักกะมิกาพาธก็ดี ท่าน ให้เอาใบ มะขวิด คราบงูเห่า หอมแดง สาบแร้งสาบกา ขนเม่น ไพลดำ ไพลเหลือง บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำนมโค  ทาตัวกุมาร  ชำระมลทินโทษทั้งปวงดีนัก
  2. กระดูกงูเห่า  มีรสเมา  ร้อน แก้พิษเลือดลม แก้จุกเสียด แก้ษนัย แก้ปวดเมื่อย แก้ชางตานขโมย และปรุงเป็นยาแก้แผลเนื้อร้ายต่างๆ  ในพระคัมภีร์จินดาร์ให้ยาอีกขนานหนึ่งเข้า “กระดูกงูเห่า”  เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้
    *ยาทาท้องแก้ท้องขึ้น   ขนานนี้ท่านให้เอา ใบหนาด ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบประคำไก่ ๑ ใบผักเค็ด ๑ ใบผักเสี้ยนผี ๑ เมล็ดในมะนาว ๑ เมล็ดในสะบ้ามอญ ๑ มดยอบ ๑ กำยานผี ๑ ตรีกฎุก ๑ สารส้ม ๑ ดินประสิวขาว ๑ น้ำประสานทอง ๑ กระชาย ๑ กระทือ ๑ ไพล ๑ หอม ๑ กระเทียม ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ กระดูกงูเหลือม ๑ กระดูกงูเห่า  ๑ กระดูกห่าน ๑ กระดูกเลียงผา ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ยาดำ ๑ รงทอง ๑ รวมยา ๒๘ สิ่งนี้  ทำเปนจุณ บดทำแท่ง ละลายน้ำมะกรูดทาท้อง แก้ท้องรุ้งพุงมาร แก้มารกระไษยลม แก้ไส้พองเอาเสมอภาค ท้องใหญ่ ท้องขึ้นท้องเขียว  อุจจาระปัสสาวะมิออก  ลมทักขิณคุณ  ลมประวาตคุณ  หายสิ้น
  3. ดีงูเห่า มีรสขม ร้อน ผสมยาหยอดตาแก้ตาฝ้า ตาฟาง ตาแฉะ ตาต้อ และบดเป็นกระสายยาช่วยให้ฤทธิ์ยาแล่นเร็ว  ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์  ให้ยาขนานหนึ่งเข้า “ดีงูเห่า”  เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้
    *ยาชื่ออินทรบรรจบคู่กัน ขนานนี้ท่านให้เอา ชะมด ๑ พิมเสน ๑  จันทน์ทั้งสอง กฤษณา กระลำพักขอนดอก ว่านกลีบแรด ๑ ว่านร่อนทอง ๑ ผลมะขามป้อม ๑ ยาดำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ กระเทียม ๑ ดีงูเหลือม ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง  เทียนดำ ๑ เทียนขาว ๑ เทียนแดง ๑ เทียนเยาวภานี ๑ เทียนสัตตบุษย์ ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กานพลู ๑ กระวาน ๑ เอาสิ่งละ ๒ สลึง รวมยา ๒๓ สิ่งนี้  ทำเปนจุณ  แล้วจึงเอา ดีงูเห่า ๑ ดีจระเข้ ๑ ดีตะพาบน้ำ ๑ ดีปลาช่อน ๑ ดีปลาไหล ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง  แช่เอาน้ำเปนกระสาย  บดปั้นแท่งไว้  ละลายน้ำดอกไม้กิน แก้อับจน ถ้ามิฟัง ละลายสุรากินแก้สรรพตาลทรางทั้งปวง แลแก้ชักเท้ากำมือกำ หายดีนัก
  4. น้ำมันงูเห่า  เตรียมได้โดยการเอาเปลวมันในตัวงูเห่าใส่ขวด ตากแดดจัดๆ  จนเปลวมันละลาย  ใส่เกลือไว้ก้นขวดเล็กน้อยเพื่อกันเหม็นเน่า  ในตำราพระโอสถ  พระนารายณ์มียาขี้ผึ้งขนานหนึ่งว่า “น้ำมันงูเห่า” เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้
    *สีผึ้งบี้พระเส้น ให้เอาชะมดทั้ง ๒ ไพล พิมเสน โกฏเชียง  กรุงเขมา  ดีงูเหลือม  จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา กระลำพัก สิ่งละเฟื้อง โกฏสอ โกฏเขมา โกฏจุลาลำภา  โกฏกัตรา  โกฏสิงคี  โกฏหัวบัว  มัชะกิยวาณี  กระวาน  กานพลู  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  เทียนดำ  เทียนขาว พริกหอม พริกหาง พริกล่อน  ดีปลี ลูกกราย  ฝิ่น  สีผึ้ง สิ่งละ สลึง กระเทียม  หอมแดง  ขมิ้นอ้อย ๒ สลึง  ทำเป็นจุณ  ละลายน้ำมะนาว ๑๐ ใบ  น้ำมันงาทนาน ๑  น้ำมันหมูหลิ่ง น้ำมันเสือ น้ำมันจระเข้  น้ำมันงูเห่า น้ำมันงูเหลือม  พอควร  หุงให้คงแต่น้ำมัน  จึงเอาชันรำโรง ชันย้อย ชันระนัง ใส่ลงพอควร  กวนไปดีแล้วจึงเอาทาแพรทาผ้าถวาย ทรงปิดไว้ ที่พระเส้นอันแข็งนั้นหย่อน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to top