จิงจ้อขาว

จิงจ้อขาว

ชื่อสมุนไพร: จิงจ้อขาว
ชื่ออื่นๆ :
เถาดอกบานตูม, เอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merremia umbellata Haller f.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นจิงจ้อขาว เป็นไม้เถาเลื้อย มักทอดเลื้อยต่ำๆ ยาวประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นกลม ตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน กระจายทั่วไป
    จิงจ้อขาว
  • ใบจิงจ้อขาว เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตร
  • ดอกจิงจ้อขาว ออกเป็นช่อออกที่ซอกใบ มักมี 1-3 ดอก  กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานนอก ขอบจักเป็นแฉกเล็กน้อย ดอกมีสีขาวเหลืองเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากแตร กว้างประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร  ด้านนอกมีแถบขนที่กลางกลีบ ก้านดอกยาวประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร
  • ผลจิงจ้อขาว ลักษณะผลรูปทรงกลมกลมรึ มียางเหนียวสีใส เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ขนาดยาวประมาณ 10-20 มิลลิเมตร ผิวค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง สีคล้ายฝาง มีขนยาวตรงหนาแน่น มีช่องเปิด 4 ช่อง เมล็ดมี 4 เมล็ดหรือน้อยกว่า ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลดำ ผิวเกลี้ยง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ยางจากราก, ใบ, เมล็ด

สรรพคุณ จิงจ้อขาว :

  • เถา รสร้อน ปรุงเป็นยาแก้บวม แก้พรรดึก กระตุ้นลำไส้ให้ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะ โลหิตและกำเดา
  • ใบ ตำเป็นยาพอกแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก เป็นยาพอกแผล ในประเทศอินโดนีเซียตำผสมขมิ้นพอกแก้เท้าแตก
  • เมล็ด เป็นยาระบายขับน้ำเหลืองเสียในคนที่เป็นโรคผิวหนัง
  • ยางจากราก เป็นยารุ

[su_quote]ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาสหัศธารา” มีส่วนประกอบของจิงจ้อร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ[/su_quote]

Scroll to top