ชื่อสมุนไพร : จิงจ้อเหลือง
ชื่ออื่นๆ : จิงจ้อนวล, จิงจ้อขน, จิงจ้อหลวง, จิงจ้อใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merremia vitifolia (Burm.f.) Hall.f.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นจิงจ้อเหลือง เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุกหรือทอดเลื้อย ลำต้นเกลี้ยง ยาวประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นกลม ตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน กระจายทั่วไป
- ใบจิงจ้อเหลือง เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว ปลายมีติ่ง โคนใบเป็นรูปหัวใจ พูกลม หรือเป็นเหลี่ยม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-13 เซนติเมตร แผ่นใบด้านล่างมีขนตามเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 7-9 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร โคนใบมีหูใบเทียมขนาดเล็ก 2 อัน
- ดอกจิงจ้อเหลือง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีประมาณ 1-4 ดอก ก้านช่อยาวประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร ใบประดับมีขนาดเล็ก ก้านดอกยาวประมาณ 1-1.6 เซนติเมตร ปลายก้านหนา ส่วนกลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีอย่างละ 5 กลีบ โดยกลีบดอกเป็นสีเหลืองครีม รูปแตร ยาวประมาณ 3-4.2 เซนติเมตร ปายกลีบเป็น 5 เหลี่ยมตื้น ๆ ด้านนอกมีขน กลีบเลี้ยงเป็นรูปรี โค้งเว้า ปลายกลมหรือตัด เส้นกลางกลีบสีเข้ม เป็นสัน ปลายเป็นติ่งแหลม ขยายในผล กลีบเลี้ยงมีขนาดเท่ากัน ยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ก้านเกสรเพศผู้จะอยู่ภายในหลอดกลีบ ก้านเกสรเป็นรูปเส้นด้าย มีขนที่จุดติด อับเรณูเรียบ บิดเวียน ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร จานรองฐานดอกเป็นรูปวงแหวน รังไข่เกลี้ยงเป็นรูปกรวย ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยงเป็นรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ยอดเกสรเป็น 2 พู
- ผลจิงจ้อเหลือง ลักษณะผลเป็นผลแห้งและแตกได้ รูปกรวยสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร มีช่อง 1-4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจิงจ้อนวลเป็นรูปสามเหลี่ยมกลม ๆ ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีขนสีเหลืองขึ้นหนาแน่น
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก
สรรพคุณ จิงจ้อเหลือง :
- ทั้งต้น รสเฝื่อน แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะขัดปวด ขับปัสสาวะ แก้ตาอักเสบ
- ราก รสร้อน แก้เสมหะ โลหิต กำเดาและลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ฟกช้ำ เจริญอาหาร แก้เลือดกำเดาไหล