ชื่อสมุนไพร : จุกโรหินี
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไม้ (เหนือ), บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี), เถาพุงปลา (ภาคตะวันออก ระยอง), พุงปลาช่อน (กลาง), นมตำไร(เขมร), บวบลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia major (Vahl) Merr.
ชื่อวงศ์ : Asclepiadaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นจุกโรหินี เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น มีรากตามลำต้นส่วนต่างๆ ของเถามีนํ้ายางสีขาวเหมือนน้ำนม
- ใบจุกโรหินี ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบหนาอวบน้ำ รูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 -2 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื่องจากถูกมดเจาะ เข้าอาศัยทำให้มีลักษณะโป่งเป็นถุง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 3-5 ซม.
ก้านใบสั้น - ดอกจุกโรหินี ดอกเล็กรูปโคม สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นกระจุกหรือเป็น ช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ
- ผลจุกโรหินี เป็นฝัก เรียวยาว 5-7.5 ซม. กว้าง 3-5 มม. เมล็ด เล็ก แบน มีขนเป็นพุ่มที่ปลาย
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ราก
สรรพคุณ จุกโรหินี :
- ทั้งต้น รสฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- ใบ รสฝาดสุขม ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้บิด แก้อาเจียน แก้ปวดเบ่ง มูกเลือด เสมหะผิดปกติ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
- ราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แก้เสมหะพิการ สมานแผล แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ รากนำมาเคี้ยวกับพลู เป็นยาแก้ไอ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
ยาพื้นบ้าน:
ใช้ ทั้งต้น รสฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ใบ รสฝาดสุขม ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้บิด แก้อาเจียน แก้ปวดเบ่ง มูกเลือด เสมหะผิดปกติ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
ราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แก้เสมหะพิการ สมานแผล แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
รากนำมาเคี้ยวกับพลู เป็นยาแก้ไอ