ชื่อสมุนไพร : ชะคราม
ชื่ออื่นๆ : ชักคราม, ส่าคราม(สมุทรสาคร)
ชื่อสามัญ : Seablite
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suaeda maritima (L.) Dumort.
ชื่อวงศ์ : CHENOPODIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุกหลายปี มีลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 0.3-1.5 เมตร โคนต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะมีมีสีน้ำตาลอมแดงเรื่อหรือสีแดงเรื่อ ผิวลำต้นเป็นตุ่มแผลจากรอยร่วงของใบ ลำต้นอ่อนมีลักษณะฉ่ำน้ำ หากแก่เต็มที่จะกลายเป็นเนื้อไม้อ่อน
- ใบชะคราม ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแทงออกเป็นใบเดี่ยวๆตามความยาวของกิ่ง ใบมีลิ้นใบเป็นแผ่นบางๆสีน้ำตาลอ่อน แผ่นใบมีลักษณะทรงกระบอก เกือบเป็นรูปทรงกลม เรียวยาว และมีลักษณะอวบน้ำ ส่วนปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเรื่อหรือสีคราม เมื่อต้นแก่เต็มที่ ขนาดใบยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
- ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อแขนงบริเวณปลายกิ่ง ความยาวของช่อดอกประมาณ 5-15 เซนติเมตร แต่ละแขนงมีดอกย่อยเกาะกันเป็นกระจุก 3-5 ดอก ซ้อนกันตามความยาวของก้านช่อดอก ดอกย่อยแต่ละดอกมีขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกแก่มีสีแดงเรื่อ
- ผลชะคราม มีขนาดเล็ก ทรงกลม ขนาดผลประมาณ 2 มิลลิเมตร เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลประกอบด้วยเมล็ด 1 เมล็ด ที่มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาล และเป็นมันวาว เมื่อเมล็ดแก่จะแตกออกเป็น 2 ซี่ ซึ่งด้านในจะมีเมล็ดย่อยจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ลำต้น, ใบ
สรรพคุณ ชะคราม :
- ราก ใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง และ รักษาเส้นเอ็นพิการ
- ใบ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้อาการตามัว รักษากลากเกลื้อน แก้อาการผื่นคัน ลดอาการบวมของแผล ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย รักษารากผม แก้ผมร่วง
- ลำต้น รักษารากผม แก้ผมร่วง
[su_quote]สำหรับประโยชน์ของชะครามนั้นนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ให้รสชาติเค็ม นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงส้ม แกงมัสมั่น เป็นต้น ส่วนใบของชะครามมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาสะกัดน้ำมันเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ผมเงางาม[/su_quote]