ชื่อสมุนไพร : ชำมะเลียง
ชื่ออื่นๆ : มะเถ้า, พูเวียง, พุมเรียงสวน, โคมเรียง, ชำมะเลียงบ้าน, ชุมเรียง
ชื่อสามัญ : Luna nut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.)Leenh.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นชำมะเลียง ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 4-7 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล
- ใบชำมะเลียง เป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด
- ดอกชำมะเลียง สีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง
- ผลชำมะเลียง รูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ผล
สรรพคุณ ชำมะเลียง :
- ราก รสเบื่อจืดขมเล็กน้อย แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้กำเดา ร้อนใน แก้ไข้ร้อนในกระสับกระส่าย แก้กระสับกระส่าย
- ผล คนโบราณใช้ผลแก่มีสีดำ รสฝาดหวาน ให้เด็กกินแก้โรคท้องเสีย
- ใบ ใบอ่อน ใช้ประกอบการทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงเลียง