ชื่อสมุนไพร : ชิงช้าชาลี
ชื่ออื่น ๆ : บรเพ็ชร, ชิงชาลี(ไทยภาคกลาง), จุ่งจะริงตัวพ่อ(ภาคเหนือ), จุ่งจะลิงตัวแม่(พายัพ), ตะซีคี
ชื่อสามัญ : Heart-leaved Moonseed, Gulancha Tinospora
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora baenzigeri Forman
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นชิงช้าชาลี เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ตามเถามีรูอากาศสีขาว เถามีลักษณะกลมและเหนียว ตามเถามีปุ่มปมเล็กน้อย เถาอ่อนเป็นสีเขียว ทุกส่วนมีรสขม โดยเฉพาะเถาแก่
- ใบชิงช้าชาลี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ด้านหลังใบใกล้กับโคนใบมีปุ่มเล็กๆ 2 ปุ่มอยู่บนเส้นใบ ก้านใบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
- ดอกชิงช้าชาลี ออกดอกเป็นช่อ โดยช่อดอกจะออกตามเถาและตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีครีมมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ยาวพ้นออกจากดอก
- ผลชิงช้าชาลี ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนดาประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมีน ผลสดเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใส เนื้อผลฉ่ำน้ำเป็นสีขาวใส เมล็ดเดี่ยวสีดำหรือสีเทาค่อนข้างดำ ผิวเมล็ดขรุขระ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ใบ, ดอก
สรรพคุณ ชิงช้าชาลี :
- เถา รสขมเย็น ใช้รักษาพิษฝีดาษ เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้เจริญอาหาร เจริญธาตุ รักษาไข้เหนือ รักษาฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ
- ใบ รสขมเมา รักษาโรคมะเร็ง และใช้ฆ่าพยาธิ แก้ปวด ฝี ถอนพิษ บำรุงน้ำดี แก้ดีพิการ บดผสมน้ำผึ้งทาแผล ใบอ่อนบดผสมนมทาแก้ไฟลามทุ่ง
- ดอก รสขมเมา ขับพยาธิในท้อง ในหู ในฟัน แก้ปวดฟัน รำมะนาด
[su_quote cite=”The Description”] ใบสดใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นรักษาอาการปวด ใช้ถอนพิษและบำรุงน้ำดี ใช้ดับพิษทั้งปวง[/su_quote]