ช้าแป้น

ช้าแป้น

ชื่อสมุนไพร : ช้าแป้น
ชื่ออื่น :
มะเขือดง, ดับยาง, ผ่าแป้ง, ฝ้าแป้ง, สะแป้ง, ฉับแป้ง(สุโขทัย), ฝ่าแป้ง(ภาคเหนือ), มั่งโพะไป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ขาตาย, ขากะอ้าย(ภาคใต้), หูควาย(ยะลา), สมแป้น(เพชรบุรี),  เอี๋ยเอียงเฮียะ(แต้จิ๋ว), แหย่เยียนเยวียะ(จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Solanum erianthum D. Don
ชื่อวงศ์  : SOLANACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  

  • ต้นช้าแป้น เป็นพรรณไม้พุ่มจะมีขนอยู่ทั้งต้น และจะผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร เปลือกต้นนั้นจะเป็นสีขาว
  • ใบช้าแป้น ใบนั้นจะออกสลับกัน และมีลักษณะอ่อนนุ่ม และมีขนปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ตรงขอบใบจะเรียบ ข้างหลังใบเป็นสีขาว ส่วนท้องใบสีดอกเลา มีก้านใบยาว 3-6 ซม.
  • ดอกช้าแป้น จะออกเป็นช่อตรงปลายยอดต้น และจะแยกออกเป็น 2 ช่อ ส่วนก้านช่อดอกนั้นมีความยาวประมาณ 5-10 ซม. ดอกเป็นดอกสีขาวออกค่อนข้างแน่นมีอยู่ประมาณ 5 กลีบ อับเรณูเป็นสีเหลือง เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน
  • ผลช้าแป้น ผลสดรูปกลม เมล็ดจำนวนมาก เมื่อสุกมีสีเหลือง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, กิ่ง, ใบ, ราก

สรรพคุณ ช้าแป้น :

  • ผล มีสารสเตอรอยด์ solasodine ปริมาณสูง สามารถสังเคราะห์เป็นยาคุมกำเนิดได้
  • ทั้งต้น ช่วยลดการอักเสบจากแผลที่เกิดจากไฟไหม้
  • ใบ ใช้รักษาอาการตัวบวม ฟกช้ำ ปวดฟัน ปวดหัว โรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองระยะเริ่มแรก โรคเก๊าท์ เป็นฝี แผลไฟไหม้ แผลเปื่อย แผลเปื่อยในปาก ผิวหนังอักเสบ และใช้ห้ามเลือด รักษาโรคเก๊าท์
  • ราก ใช้รักษาอาการท้องร่วง โรคบิด และขับระดูขาว

[su_quote cite=”The Description”]เป็นกลากเกลื้อน ฝี และแผลเปื่อย ให้ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอก หรือจะใช้ต้มกับน้ำให้เข้มข้น นำมาชะล้างตามบริเวณที่เป็น[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]โรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ในระยะเริ่มแรกให้ใช้ใบสดประมาณ 15-20 กรัม แล้วล้างให้สะอาด นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใช้ไข่เป็นที่เปลือกเป็นสีเขียว 1 ฟอก ใส่ น้ำและเหล้าอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มกับน้ำกิน 2-3 วันต่อครั้ง[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]โรคเก๊าท์ ให้ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด แล้วนำมาคั่วกับเหล้า ใช้ทาถูนวดตามบริเวณที่เป็น[/su_quote]

Scroll to top