ชื่อสมุนไพร : ดีควาย
ชื่ออื่นๆ : กัลปังหาต้น(ภูเก็ต), ก้านเหลือง, คำเกี้ยวต้น(เหนือ), ดันหมี, ปูตูบูแว(มาเลย์-นราธิวาส), มะดีควาย(เชียงใหม่), แสนเมือง(หนองคาย), หีควาย(ลำปาง), ดีหมี, ดันหมี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz
ชื่อวงศ์ : Icacinaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นดีควาย เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 15 ม. เปลือกเรียบสีเทาอมน้ำตาล กิ่งเกลี้ยง กิ่งอ่อนมีขนประปรายตอนปลายกิ่ง
- ใบดีควาย รูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 8-25 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มหรือมน บางครั้งเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบ 4-9 เส้น ในแต่ละข้าง เรียงจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบหนา สีเหลืองอมส้ม ยาว 1-2 ซม.
- ดอกดีควาย ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดสั้นๆ ยาวไม่เกิน 1 ซม. ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงรูปรี ยาวประมณ 2 มม. ขอบมีขนครุย กลีบดอกสีขาวนวล หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 5-6 มม. ปลายกลีบรูปสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่ยื่นพ้นหลอดกลีบ ก้านเกสรยาว 3-4 มม. อับเรณูยาวประมาณกึ่งหนึ่ง ดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศออกป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นๆ คล้ายดอกเพศผู้ ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย รังไข่รูปไข่กว้าง เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียสั้น มีขน ยอดเกสรหยักเป็น 3 พูเล็กน้อย
- ผลดีควาย รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3-5 ซม. มีริ้ว สีเขียว สุกสีดำอมม่วง ผนังผลหนาคล้ายฟองน้ำมีเส้นใย หนา 3-4 มม. ผนังผลชั้นในแข็ง หนา 1-1.5 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้
สรรพคุณ ดีควาย :
- เนื้อไม้ รสขม ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น