ตะลุมพุก

ตะลุมพุก

ชื่อสมุนไพร : ตะลุมพุก
ชื่ออื่นๆ :
กระลำพุก, มะคังขาว (ภากลาง ราชบุรี), มอกน้ำขาว, มะข้าว (ภาคเหนือ), มะคัง (อุตรดิตถ์), ลุมปุ๊ (สุรินทร์), ลุมปุ๊ก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ลุมพุก (ลพบุรี)
ชื่อสามัญ : Divine Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตะลุมพุก เป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร  ตามปลายกิ่งก้าน และลำต้น มีหนามแหลมยาว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ เป็นปมขรุขระทั่วไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้สีขาวปนน้ำตาลอ่อน ละเอียด สม่ำเสมอมาก (นิยมใช้แกะสลัก) กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมน
  • ใบตะลุมพุก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สีเขียวอ่อน รูปไข่กลับ กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีหูใบเล็กๆ อยู่ระหว่างก้านใบ ผิวใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมันลื่น ท้องใบเรียบ เนื้อใบบาง ฉีกขาดง่าย ก้านใบยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนประปรายปกคลุมด้านล่าง
  • ดอกตะลุมพุก ดอกเดี่ยว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายยอด กลีบดอกทรงกลมใหญ่ สีขาว มี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบดอกมน กลีบดอกค่อนข้างหนา หลอดกลีบยาวกว่ากลีบดอก ยอดเกสรตัวเมียมีน้ำเมือกค่อนข้างมาก กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม เกสรตัวผู้มี 5 อัน อับเรณูสีเหลือง เกสรตัวเมียมี 1 อัน ก้านเกสรสีขาว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ปลายเกสรเพศเมียรูปถ้วย กลีบเลี้ยงสีขาวมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก
  • ผลตะลุมพุก ผลสด รูปไข่ กลมรี ยาว 4-6 เซนติเมตร เนื้อแน่น แข็ง ผิวผลเรียบ ผลสดสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดรูปทรงกลมจำนวนมาก เมล็ดมักฝ่อ
    ตะลุมพุก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, แก่น, ราก

สรรพคุณ ตะลุมพุก :

  • รากและแก่น ต้มน้ำดื่ม เข้ายาแก้ปวดเมื่อย ช่วยบำรุงเลือด
  • แก่น ผสมแก่นมะคังแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง
  • ผล และราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด แก้อติสาร
Scroll to top