ตะเคียนหิน

ตะเคียนหิน

ชื่อสมุนไพร : ตะเคียนหิน,
ชื่ออื่นๆ :
  เคียนทราย, ตะเคียนหนู, เหลาเตา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea ferrea Laness.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตะเคียนหิน เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15 – 30 เมตร ลำต้นเปลา ตรง และมักบิด โคนเป็นพอนต่ำๆ หรือ ไม่มีเลย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หรือ รูปกรวยแหลม มองเห็นสีแตงอ่อนในระยะที่ผลิใบใหม่ ๆ กิ่งอ่อนเรียบ มีขนประปราย เปลือกสีน้ำตาลแก่แตกล่อนเป็นสะเก็ด
  • ใบตะเคียนหิน รูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 6-8.5 ซม. โคนใบมนกว้าง และค่อย ๆ เรียวไปทางปลาย ปลายสุดหยักเป็นติ่งทู่ ๆ เนื้อใบค่อนข้างบาง เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีแดงเรื่องๆ ใบแห้งสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบมี 8-10 คู่ เส้นเล็กอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ และปลายกิ่ง
  • ดอกตะเคียนหิน ตูมกลม โตไม่เกิน 0.2 ซม. โคนกลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนประปราย กลีบดอกด้านนอกมีขนนุ่ม ด้านในเกลี้ยง กลีบยาวประมาณ 2 เท่าของกลีบรองกลีบดอก ก้านดอกสั้น มองไม่เห็น มีขนนุ่มทั่วไปตามก้านช่อดอก
  • ผลตะเคียนหิน เรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.3 ซม. ยาวประมาณ 1.4 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม มีขนประปราย ปีกยาว 2 ปีก รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม เส้นปีกมี 8 เส้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : แก่น, เปลือกต้น, ดอก

สรรพคุณ ตะเคียนหิน :

  • แก่น รสฝาดเฝื่อน ใช้เข้ายารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กระษัย
  • เปลือกต้น รสฝาด ต้มน้ำใช้ล้างแผล หรือผสมกับเกลืออมเพื่อป้องกันฟันผุ แก้พิษปรอท
  • ดอก รสสุขุมหอม เข้ายาเกสรร้อยแปด
Scroll to top