ตะโกสวน

ตะโกสวน

ชื่อสมุนไพร :  ตะโกสวน,
ชื่ออื่นๆ :
 ปลาบ, มะเขือเถื่อน, มะสุลัวะ, ตะโกไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตะโกสวน เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเป็นสีดำมีแต้มสีขาว เนื้อในเปลือกเป็นสีแดงเข้ม
  • ใบตะโกสวน ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีแดง ลักษณะของใบแคบรูปขอบขนาน ปลายใบค่อนข้างแหลม ปลายใบแหลมมน โคนใบโค้งมน เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบมีขนาดประมาณ 4×8 เซนติเมตร
  • ดอกตะโกสวน ดอกเป็นสีขาวจนถึงสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกตามซอกใบ ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 2-7 ดอก กลีบเลี้ยงมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม มี 4 แฉก ลักษณะเป็นรูปไข่กว้างและกลีบดอกเป็นหลอดกว้าง ส่วนดอกเพศเมียมักจะออกเป็นดอกเดี่ยวและมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงมีขนขึ้นปกคลุม ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กว้าง และกลีบดอกเป็นรูประฆัง
  • ผลตะโกสวน ผลมีลักษณะกลม มีเกล็ดที่หลุดร่วงได้ง่ายขึ้นปกคลุม ผลมีขนาดโตคล้ายผลตะโกนา แต่จะโตและยาวกว่า โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 เซนติเมตร ผลดิบมียางมากและมีรสฝาด ผลสุกเป็นสีส้มเหลือง ภายในผลมีเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อ 8 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลดำทรงรีแป้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือก, ผลอ่อน, ผลแก่, ผลดิบ, เมล็ด

สรรพคุณ ตะโกสวน :

  • เปลือก  รสฝาดเฝื่อน ช่วยสมาน ลดไข้
    ถ้าต้มกับผลอ่อน ใช้กินแก้บิด ท้องร่วง แก้อาเจียน และไข้มาเลเรีย
    ถ้าต้มกับผลแก่ ใช้เป็นยาอมกลั้วคอ, รักษาแผลในปาก ช่องปากและคออักเสบ
  • เปลือกและผลอ่อน รสฝาดเฝื่อน แก้บิดแก้ท้องร่วง แก้ไข้มาลาเรีย
  • เปลือกและผลแก่ รสฝาดเฝื่อนหวาน ต้มเป็นยาอมกลั้วคอ รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ
  • ผลดิบ  รสฝาด สำหรับทาบาดแผลเล็ก ๆ น้อยๆ ใช้ห้ามเลือด  กินแก้บิด และท้องร่วง
  • เมล็ด  รสฝาดเฝื่อน  น้ำมันจากเมล็ด กินเป็นยาแก้บิด และท้องร่วง
Scroll to top