ตาเสือ

ตาเสือ

ชื่อสมุนไพร : ตาเสือ
ชื่ออื่นๆ :
 ตาปู่, ขมิ้นดง, เชือย, โทกาส้า, พุแกทิ้ , เส่ทู่เก๊าะ ต้มดง, มะยมหางก่าน, มะหังก่าน, มะฮังก่าน, มะอ้า, ยมหังก่าน, เย็นดง, เลาหาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตาเสือ เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกต้นมีความหนาแตกเป็นสะเก็ดหลุดล่อนออก ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลือง
  • ใบตาเสือ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบกลมเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นๆ ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 6-18 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม
  • ดอกตาเสือ ออกเป็นช่อแยกแขนงยาว โดยจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งช่อดอกเพศผู้ ช่อดอกเพศเมีย และช่อดอกที่มีทั้งสองเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ลักษณะเป็นรูปทรงกลม กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 3 แฉก สีเขียวและมีขน ส่วนกลีบดอกมี 3 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
  • ผลตาเสือ มีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2-3 ซีก ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำและมีเยื้อหุ้มเมล็ดสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, เปลือกต้น, ใบ และ ผล

สรรพคุณ ตาเสือ :

  • เนื้อไม้ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย
  • เปลือกต้น รสฝาดเมา กล่อมเสมหะ แก้เสมหะ แก้บิดมูกเลือด ขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก สมานแผล แก้บวมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย แก้ปวดตามข้อ
  • ใบ รสฝาดเมา แก้บวม
  • ผล รสฝาดเมา  แก้บวมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
Scroll to top