ชื่อสมุนไพร : ถั่วลันเตา
ชื่ออื่น ๆ : ถั่วน้อย(พายัพ), ถั่วลันเตาเปลือกหนา
ชื่อสามัญ : Sugar pea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นถั่วลันเตา เป็นพืชผักที่มีเถาเลื้อย มีความสูงได้ถึง 2 เมตร เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นเล็กและเป็นเหลี่ยม ส่วนรากเป็นระบบรากแก้ว สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนปนเหนียว และควรเป็นดินที่ค่อนข้างมีความเป็นกรดเล็กน้อย เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็นจึงปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาว และโดยถั่วลันเตามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นพันธุ์ฝักเหนียว มีเมล็ดโต นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานเมล็ด ส่วนอีกประเภทจะปลูกไว้เพื่อรับประทานเฉพาะฝักสด โดยฝักจะมีขนาดใหญ่และมีปีก
- ใบถั่วลันเตา ใบประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยใบย่อย 1-4 คู่ ใบย่อยรูปกึ่งทรงกลม ถึงรูปรีหรือรูปขอบขนาน โคนใบกลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักซี่ฟัน หูใบรูปไข่เบี้ยว
- ดอกถั่วลันเตา ช่อดอกแบบช่อกระจะ มี 1-3 ดอก กลีบกลางสีขาวหรือขาวปนน้ำเงิน กลีบคู่ข้างสีขาว บางครั้งมีแต้มสีม่วงแดงเข้ม กลีบคู่ล่างสีเดียวกัน
- ผลถั่วลันเตา จะออกเป็นฝักเล็ก ๆ มีลักษณะคล้ายฝักถั่วแปบ ภายในฝักจะมีเมล็ดโต ฝักหนึ่งจะ มีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-10 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา และฝัก
สรรพคุณ ถั่วลันเตา :
- เถา ใช้กินเป็นยารักษาโรคตับทรุด ตับพิการ และชักตับ
- ฝัก รสมัน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ถอนพิษ มักใช้บำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นตะคริวเหน็บชา ปัสสาวะขัด และยังช่วยเพิ่มน้ำนม ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งอาหารจีน และอาหารฝรั่ง
[su_quote]ถั่วลันเตาเป็นพืชที่คนนิยมนำมาปรุงอาหารหลากเมนู เพราะมีรสชาติอร่อย ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารมีประโยชน์มากมาย หลายคนจึงเชื่อว่าถั่วลันเตาอาจดีต่อสุขภาพหลายด้าน ตลอดจนการรักษาและป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ด้วย โดยสารประกอบหลักในถั่วลันเตา ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค โฟเลต แมงกานีส ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ เป็นต้น[/su_quote]