ชื่อสมุนไพร : ทองพันดุล
ชื่ออื่นๆ :ไก่อู (นครสวรรค์); ชบาหนู, ทองพันดุล (ราชบุรี); ปอดาน (หนองคาย); หัวไก่โอกใหญ่ (นครราชสีมา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Decaschistia parviflora Kurz
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นทองพันดุล เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 30-100 ซม.
- ใบทองพันดุล เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-10 ซม.
- ดอกทองพันดุล เป็นดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ บานแผ่ลักษณะคล้ายดอกชบา ขนาดผ่าศูนย์กลาง 4-8 ซม. มีหลายสีตั้งแต่ชมพู ส้มแกมชมพู แดงแกมชมพู จนซีดเกือบขาว โคนกลีบดอกสีขาว หลอดเกสรยาว 3-5 ซม.
- ผลทองพันดุล แห้ง แตกได้ รูปร่างค่อนข้างกลม มีขนสีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น ราก เหง้า
สรรพคุณ ทองพันดุล :
- ทั้งต้น ใช้ทุบแล้วพอกขาของหมูแก้อาการเคล็ดหรือนำรากมาทุบประคบแผลฟกช้ำให้ไก่ชน
- รากสด ใช้บดพอกเป็นยาแก้เคล็ดฟกช้ำในสัตว์
- เหง้าใต้ดิน (หัว) กินแก้กระหายน้ำ เป็นยาเย็น