ชื่อสมุนไพร : ทองหลางน้ำ
ชื่ออื่นๆ : ทองโหลง, ทองหลางบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina fusca Lour.
ชื่อวงศ์ : PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นทองหลางน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาและแตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านมีหนามแหลม
- ใบทองหลางน้ำ ใบประกอบมี 3 ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 5 – 8 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาและเหนียว
- ดอกทองหลางน้ำ ออกเป็นช่อกระจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกรูปดอกถั่ว ดอกบานกว้าง 8 – 10 เซนติเมตร สีแดง ออกดอกเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และติดผลในเดือนมีนาคม -เมษายน
- ผลทองหลางน้ำ เป็นฝักรูปทรงกระบอก มีรอยคอดระหว่างเมล็ด สีน้ำตาลอ่อน เมื่อแก่แตกออก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลรูปไต
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น
สรรพคุณ ทองหลางน้ำ :
- เปลือกต้น รสเฝื่อนเอียน แก้เสมหะ แก้ลมพิษ หยอดตาแก้ตาแดง ตาแฉะ ตาฝ้าฟาง ดับพิษร้อน
- ราก รสเมาเย็นเอียน แก้พยาธิในท้อง แก้ตาฟาง แก้เสมหะและลม แก้ไข้หวัด พอกบาดแผล แก้ปวดแสบปวดร้อน
- นม (ฐานของหนาม) รสเมาเอียน ดับพิษร้อน แก้กลากน้ำนม