ชื่อสมุนไพร : ทองหลางใบมน
ชื่ออื่นๆ : ทองเหลือง, ทองเดือนห้า, ทองหลางป่า, ทองหนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina stricta Roxb.
ชื่อวงศ์ : PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นทองหลางใบมน เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบเมื่อออกดอก สูง 10-20 เมตร ลำต้น มีเปลือกหนา กิ่งมีหนามแหลมสั้นๆ
- ใบทองหลางใบมน เป็นใบประกอบแบบ มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่กว้าง ขนาด กว้าง 7-12 ซม. ยาว 9-12 ซม.
- ดอกทองหลางใบมน สีแดงสด ออกเป็นช่อแน่นที่ปลาย กิ่ง ยาว 5-8 ซม. ดอกย่อยรูป ดอกถั่วจำนวนมากเรียงอยู่ระนาบเดียว ยาว 4.5 ซม. กลีบรองดอก เป็นถ้วยคล้ายกระทง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดต่างกันชัดเจน กลีบบนรูปหอกหรือมนแผ่โค้งกว้างใหญ่ที่สุด เกสรผู้เป็นมัด 10 อัน
- ผลทองหลางใบมน เป็นฝัก รูปทรงกระบอก ยาวโค้งเล็กน้อย สีน้ำตาล กว้าง 0.6-1 ซม. ยาว 7-10 ซม. เมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ผล, เปลือกต้น, กระพี้, แก่น, ราก
สรรพคุณ ทองหลางใบมน :
- ใบ รสมันเย็น ดับพิษไข้ ขับไส้เดือน แก้ริดสีดวง ทาแก้ปวดตามข้อ แก้ลม คั่วให้เกรียมเป็นยาเย็นดับพิษ
- ใบแก่ รมควันชุบน้ำสุรา ปิดแผลเนื้อร้ายที่กัดกินลามบวนดังจะแตก ช่วยดูดหนองให้ยุบแห้งหายดี
- น้ำคั้นจากใบสด หยอดตาแก้ตาแดง ตาแฉะ ดับพิษอักเสบ
- ดอก รสขมเอียน ขับโลหิตระดู
- ผล รสขมเอียน บำรุงน้ำดี
- เปลือกต้น รสเฝื่อนขม แก้เสมหะ แก้ลมทั้งปวง ขับนิ่ว แก้ดีพิการ ตัดไข้ แก้ตาบวม
- กระพี้ท รสขมเอียน แก้พิษฝี
- แก่น รสขมเอียน แก้ฝีในท้อง
- ราก รสขมเอียน แก้พิษทั้งปวง แก้ดีพิการ แก้ไข้ แก้โรคตา แก้ร้อนในกระหายน้ำ