บอนแบ้ว

บอนแบ้ว

ชื่อสมุนไพร : บอนแบ้ว
ชื่ออื่น ๆ
: มะโหรา(จันทบุรี), บอนดอย (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บอนแบ้ว (เหนือ), อุตพิต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium roxburghii Schoot.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นบอนแบ้ว เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กและบอบบางกว่าต้นอุตพิต จะมีหัวอยู่ใต้ดิน
  • ใบบอนแบ้ว ใบอ่อนจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมหัวใจ หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ตรงปลายของมันจะแหลม ส่วนใบแก่นั้นจะเป็นหยัก แบ่งออกเป็น 3 แฉก ก้านใบจะมีความยาวประมาณ 15 ซม.
  • ดอกบอนแบ้ว จะออกเป็นช่อ และเป็นแท่งจะมีความยาวประมาณ 20 ซม. ดอกตัวเมียจะอยู่ตอนโคน ถัดบอนแบ้วขึ้นไปเป็นดอกฝ่อสีเหลืองและถัดขึ้นไปอีกก่อนที่จะถึงดอกตัวผู้ จะมีช่วงว่างยาวประมาณ 1.25 ซม. ช่วงที่เป็นดอกตัวผู้จะมีความยาวประมาณ 1 ซม. เกสรตัวผู้นั้นจะเรียงกันเป็นวงรอบ ๆ แท่งประมาณ 8-9 วงเป็นสีเหลือง และถัดจากดอกตัวผู้ขึ้นไปจะเป็นติ่งยาว ตรงปลายของมันจะแหลม ละอองเกสรนั้นจะเป็นสีชมพู ช่อดอกจะมีกาบหุ้ม ตรงโคนกาบจะโอบช่อดอกเป็นท่อยาวประมาณ 4 ซม. เป็นสีเขียวและจะมีลายเป็นสีน้ำตาลปนแดง ส่วนกาบตอนบนจะเป็นรูปไข่ ตรงปลายของมันจะแหลมและมีความกว้างประมาณ 5 ซม. จะเป็นสีน้ำตาลเข้มปนแดง ตรงปลายจะเป็นสีเขียวบิดม้วนเป็นเกลียว
  • ผลบอนแบ้ว ผลสดนั้น จะมีเนื้อนุ่ม มีลักษณะเป็นรูปของขนาน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, กาบ, กาบใบ,ราก

สรรพคุณ บอนแบ้ว :

  • หัว ใช้เป็นยากัดฝ้าหนอง กัดเถาดานในท้อง หุงเป็นน้ำมันใส่แผล สมาแผล โดยการปิ้งไฟใช้รับประทานได้
  • ราก จะมีฤทธิ์เป็นยาช่วยกระตุ้น รักษาโรคริดสีดวงทวารกินกับกล้วยใช้รักษาอาการปวดท้อง หรือจะใช้สำหรับทาภายนอก และกินรักษาพิษงูกัดก็ได้
  • กาบ นำไปหั่นให้ละเอียด ใช้ดองกินเป็นผักได้
  • ก้านใบ  ลอกเอาเปลือกออก แล้วใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงอุตพิต
Scroll to top