ปรงป่า

ปรงป่า

ชื่อสมุนไพร : ปรงป่า
ชื่ออื่นๆ :
ตาลปัตรฤาษี, ปรงเหลี่ยม, ผักกูดบก, โกโล่โคดึ, ตาซูจือดึ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cycas siamensis Miq.
ชื่อวงศ์ : CYCADACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นปรงป่า เป็นไม้ต้นหรือพุ่ม เนื้อแข็ง สูงได้ถึง 3 เมตร ลำต้นมีลักษณะคล้ายเป็นข้อสั้นๆ สีเทาดำ รูปตรงทรงกระบอกโคนป่องเล็กน้อย
  • ใบปรงป่า เป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวเป็นมัน ยาว 60-90 ซม. ออกเรียงเวียนแน่นที่ปลายยอด ใบปรงป่าย่อยยาวแคบ มีจำนวนประมาณ 50-70 คู่ กว้าง 6 มม. ยาว 7.5-20 ซม. ปลายใบแข็งเป็นหนาม เส้นกลางใบนูนเห็นชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. มีหนามที่สัน

 

 

  • ดอกปรงป่า ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแน่น รูปโคมยาวแกมขอบขนาน ยาวประมาณ 30 ซม. ปรงป่ากาบดอกเป็นแผ่นแข็ง รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 17 ซม. ด้านนอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรยางค์แหลมที่ปลายตั้งขึ้น ดอกเพศเมียแผ่เป็นแผ่นคล้ายกาบ ขอบจักลึกคล้ายหนาม ยาว 10-10.5 ซม. ขนาดผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุมแน่น ตอนล่างมีไข่อ่อนติดอยู่ 1 คู่ ข้างละหนึ่งใบ เมล็ดรูปไข่แกมขอบขนาน สีน้ำตาล ผิวเกลี้ยง ยาวประมาณ 4 ซม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, หัว, ต้น

สรรพคุณ ปรงป่า :

  • ดอก รสเผ็ด บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์ แก้ลมดีและเสมหะพิการ บำรุงธาตุ
  • หัว นำมาฝนปรุงกับสุรา แก้ฟกบวม รักษาแผลเรื้อรัง แก้แผลกาย ใช้เป็นยาสมานแผลได้ดีมาก
  • ต้น ตำหรือบด สระผมรักษารากผม
Scroll to top