ผักกระเฉด

ผักกระเฉด

ชื่อสมุนไพร : ผักกระเฉด
ชื่ออื่นๆ :
ผักหละหนอง (แม่ฮ่องสอน), ผักกระเสดน้ำ (ยโสธร, อุดรธานี, ภาคอีสาน), ผักกระเฉด ผักรู้นอน (ภาคกลาง), ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neptunia oleracea Lour.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAEMIMOSOIDEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักกระเฉด ผักกระเฉดจะขึ้น และเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นมีลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้ รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก
  • ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยผักกระเฉดก้านใบย่อย 4-6 ก้าน และแต่ละก้านใบจะมีใบ 15-20 คู่ ใบบนก้านใบย่อยจะมีรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 ซม. ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด

 

 

  • ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อกลมสีเหลืองขนาดประมาณ 2 ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยผักกระเฉดสมบูรณ์เพศอยู่ตรงกลาง กลีบเลี้ยงเชื่อมกันยาว 2.4-3.7 มม. ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ยาว 3-4.3 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกที่เป็นหมันขนาดใหญ่กว่าอยู่ด้านนอก

 

 

  • ผลผักกระเฉด ผลของผักกระเฉดจะออกเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักมีลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ผักกระเฉดภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด เมื่อฝักแก่ ฝักจะปริแตกตามร่องด้านข้างเพื่อปล่อยให้เมล็ดร่วงลงน้ำ

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ

สรรพคุณ ผักกระเฉด :

  •  ทั้งต้น เป็นยาเย็น ใช้ถอนพิษ แก้เบื่อเมา แก้บาดทะยัก ฝีตะมอย แก้พิษงูกัด
  • ใบ  เป็นยาแก้ไข้ และถอนพิษอักเสบ
Scroll to top