ชื่อสมุนไพร : ผักชีฝรั่ง
ชื่ออื่นๆ : ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ (เชียงใหม่, ภาคเหนือ), มะและเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), ผักชีใบเลื่อย (ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ ผักหอมเป (เลย,ขอนแก่น), หอมป้อม หอมเป (ชัยภูมิ), หอมน้อยฮ้อ (อุตรดิตถ์), หอมป้อมเปอะ (กำแพงเพชร)
ชื่อสามัญ : Sawtooth corianser, Spiny coriander, long coriander, Culantro
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum L.
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae (APIACEAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นผักชีฝรั่ง เป็นไม้ล้มลุก อายุสองฤดูกาลหรือสองปี ต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว ไม่มีขน สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม สูงถึง 80 เซนติเมตร ปกติมีกิ่งเดียว รากหลักรูปกระสวยยาว ลำต้นสั้น เป็นร่อง ยืดยาวก่อนออกดอก
- ใบผักชีฝรั่ง กระจุกแบบกุหลาบซ้อน เรียงเวียน มีก้านใบสั้นหรือไม่มี ใบรูปใบหอกถึงรูปไข่หรือหัวกลับยาว ขนาดกว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 5-30 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายจักมีหนามแหลมเล็ก ๆ
- ดอกผักชีฝรั่ง เป็นช่อดอก แบบซี่ร่ม รูปคล้ายแบบเชิงลด ออกเป็นกระจุกบนก้านที่ยื่นยาวจากกลางยอดของกลุ่มใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก เรียงเป็นช่อกระจุกซ้อน ที่ปลายช่อหรือแขนง กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนานแกมรี ปลายโค้ง สีขาวแกม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ราก
สรรพคุณ ผักชีฝรั่ง :
- ใบ ใช้ปรุงรสและดับกลิ่นคาวในอาหาร น้ำต้มหรือน้ำคั้นจากใบ ใช้เป็นยาระบาย แก้หวัด แก้ไข้ ช่วยกระตุ้นร่างกาย
- ราก ใช้น้ำต้มจากรากขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ และกระตุ้นร่างกาย
- ทั้งต้น ใช้น้ำต้มทั้งต้นบำรุงกำหนัด