ชื่อสมุนไพร : ผักหวานดง
ชื่ออื่นๆ : ผักหวานดง (ตราด), จ๊าผักหวาน (ลำพูน), ต้นใต้ใบ, ใต้ใบเถื่อน, ผักหวานช้าง (สุราษฎร์ธานี), ผักหวาน (สตูล), ผักหวานแขว (ชุมพร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus elegans Wall. ex Müll.Arg.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ผักหวานดง เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.6-3 เมตร กิ่งอ่อนมีสีเขียว
- ใบผักหวานดง เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ท้องใบสีขาวนวล มีหูใบยาว ปลายใบแหลม
- ดอกผักหวานดง ดอกแยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ดอกย่อยกลม มีขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ขอบกลีบเว้าลึก ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวออกตอนบนของกิ่ง มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ใส ขอบเว้าลึก 6 กลีบ
- ผลผักหวานดง เป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบ พองลม เมล็ดมีลายตามยาว
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก
สรรพคุณ ผักหวานดง :
- ใบ รสหวานเย็น ใช้ยางกวาดปากแก้เด็กลิ้นเป็นฝ้าขาว ใช้ปรุงเป็นอาหาร
- ราก รสเย็น ต้มดื่มแก้ไข้