ผักเชียงดา

ผักเชียงดา

ชื่อสมุนไพร : ผักเชียงดา
ชื่ออื่นๆ :
เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผักเชียงดา เป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม
  • ใบผักเชียงดา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเนียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ผักเชียงดาปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร

 

  • ดอกผักเชียงดา ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
  • ผลผักเชียงดา ออกผลเป็นฝักคู่

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ

สรรพคุณ ผักเชียงดา :

  • ใบ ใช้ตำพอกกระหม่อม รักษาไข้หวัด ไอ ขับเสมหะ บรรเทาภูมิแพ้ หืดหอบ หลอดลมอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ ช่วยระบบขับถ่าย ขับระดู แก้กามโรค ตำพอกฝี แก้งูสวัด เริม ถอนพิษ ดับพิษร้อน พิษกาฬ ไข้เซื่องซึม โรคชักกระตุก

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]
ในการใช้ผักเชียงดาตามตำรายาพื้นบ้าน คือ
1. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้รับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้
2. นำใบมาตำให้ละเอียดใช้พอกบนกระหม่อมรักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ
3. ใช้ใบแก่ของผักเชียงดามาเคี้ยวกินสามารถรักษาอาการท้องผูก
4. ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือพอกบริเวณที่เป็นเริม งูสวัดแก้ปวดแสบ ปวดร้อน [/su_spoiler]

Scroll to top