ชื่อสมุนไพร : ผักแครด
ชื่ออื่น ๆ : สับกา(ภาคกลาง), หญ้าขี้หมา(นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Synedrella nodiflora (Linn.) Gaertn.
วงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นผักแครด เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นง่าม ตามกิ่งจะมีขนปกคลุมอยู่ประปราย สูงประมาณ 1-2 ฟุต
- ใบผักแครด ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบสอบติดเป็นปีกกับก้านใบเลย ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบทั้งสองข้างจะมีขนปกคลุมอยู่ มีเนื้อใบบาง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-3.5 นิ้วยาว 1.5 นิ้วมีสีเขียว
- ดอกผักแครด ออกเป็นกลุ่ม ๆ อยู่ตามง่ามใบ แต่จะมีเฉพาะที่ส่วนยอดของต้นเท่านั้น จะไม่มีก้านดอก และดอกจะแบ่งออกเป็น 2 วง วงนอกยาวประมาณ 9 มม. ปลายแหลมและมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ประปราย ส่วนวงในยาว 7 มม. ปลายมน ผิวเกลี้ยงกลีบดอกเป็นสีเหลืองรูปรางน้ำ
- ผลผักแครด มีสีน้ำตาลดำ หรือสีดำ ผลยาวประมาณ 4-5 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ
สรรพคุณ ผักแครด :
- ทั้งต้น นำมาปรุงเป็นยาทาแก้โรคไขข้ออักเสบ หรือคั้นเอาน้ำเป็นยาหยอดหูแก้หูเจ็บ หรือเอามาตำเป็นยาพอกหัวแก้ปวด พอกขาเวลาปวด
- ใบ น้ำคั้นจากใบเป็นยาแก้ปวดท้อง ส่วนน้ำต้มกินเป็นยาระบาย