ชื่อสมุนไพร : ผักโขมหัด
ชื่ออื่น ๆ : ผักโขม, ผักขม(ภาคกลาง), ผักหม(ภาคใต้), ผักขมหัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus viridis Linn.
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นผักโขมหัด เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยมมน และเกลี้ยง แต่จะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่บ้างเล็กน้อย ลำต้นสูงประมาณ 0.5-2 ฟุตมีสีเขียว
- ใบผักโขมหัด เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือคล้ายกับรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบจะมนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนโคนนั้นจะแหลมและกว้างกว่าปลายใบตามเส้นใบจะมีขนขึ้นอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาว 1.5-3.5 นิ้วมีสีเขียว มีก้านใบยาว 1-2.5 นิ้ว
- ดอกผักโขมหัด ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกเพศผู้และเมียจะอยู่กันคนละดอก แต่ก็อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมี 3-4 กลีบซึ่งหนึ่งดอกจะเรียงกันเป็นแถวประมาณ 20-30 ดอกมีสีเขียว
- ผลผักโขมหัด มีลักษณะทรงรีเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลแก่แตกออกได้ข้างในมีเมล็ดอยู่ เมล็ด อยู่ในผลแก่แตกออกได้ มีลักษณะทรงกลมเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ราก
สรรพคุณ ผักโขมหัด :
- ใบ นำใบมาปรุงเป็นยาแก้คันตามผิวหนัง แก้พิษแมลงป่องต่อย ทำให้ผิวหนังนุ่ม
- ทั้งต้น จะใช้แก้พิษงูกัด
- ราก ปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนภายใน แก้ร้อนใน แก้ไข้ แก้หวัด ช่วยระงับความร้อน ช่วยรักษาผื่นคัน ช่วยระบบขับถ่าย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ แก้บิด ช่วยขับสารพิษ ช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้บวม แก้แน่นท้อง แก้จุกเสียด มีอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยรักษากลากเกลื้อน และต้มอาบน้ำแก้อาการคันตามผิวหนัง
ผักโขมหัดเป็นพืชที่สามารถ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญเติบโตได้ดี มีวิธีการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ แบบหว่านแมล็ดโดยตรง หรือแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ลงในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอประมาณ