ชื่อสมุนไพร : ฝอยทอง
ชื่ออื่น ๆ : ฝอยไหม, เครือเขาคำ, ผักไหม, กิมซีซ่า, โท้วซี
ชื่อสามัญ : Dodder
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cuscuta chinensis Lam.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นฝอยทอง เป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจกต้นไม้อื่น ลักษณะของลำต้นเป็นเส้นกลม อ่อน แตกเป็นกิ่งก้านสาขา เป็นเส้นยาว มีสีเหลือง
- ใบฝอยทอง ใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เกล็ดเล็ก ๆ
- ดอกฝอยทอง ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก ๆ กลีบดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบจะมน แยกออกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 5 อัน ตัวเมียมี 2 อัน
- ผลฝอยทอง ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3 มม. เป็นสีเทา ข้างในผลมีเมล็ดอยู่ 2-4 เม็ด เป็นรูปค่อนข้างกลมรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1.5 มม. เป็นสีเหลืองอมเทา
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, เมล็ด
สรรพคุณ ฝอยทอง :
- ทั้งต้น รสจืดฝาด ต้มเอาน้ำดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ถ่ายเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้ตกเลือด แก้เลือดกำเดาไหล แก้ดีซ่าน ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาวมากผิดปกติ แก้พิษทั้งภายนอกและภายใน ตำพอกหรือทาแก้ฝ้า ผดผื่นคัน แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด แก้โรคผิวหนังด่างขาวเป็นปื้น ต้นรับประทานได้
- เมล็ด รสฝาดเผื่อน ต้มหรือบด เป็นผงรับประทาน บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้ปวดเมื่อย ทำให้ตาสว่าง แก้กระหายน้ำ แก้น้ำกามเคลื่อนเวลาหลับ
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับ หญิงที่ตั้งครรภ์ และบุคคลที่ท้องผูก