ชื่อสมุนไพร : พุดซ้อน
ชื่ออื่น ๆ : เค็ดถวา แคถวา (เชียงใหม่), พุดป่า (ลำปาง), พุทธรักษา (ราชบุรี), พุดฝรั่ง (กรุงเทพฯ), พุดสา พุดสวน พุดจีบ (ภาคกลาง), พุด, พุดจีน พุดใหญ่
ชื่อสามัญ : Cape jasmine, Gareden gardenia, Gerdenia, Bunga cina (มาเลเซีย), Kaca piring
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia augusta (L.) Merr.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นพุดซ้อน เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน
- ใบพุดซ้อน ใบจะเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามหรือประกอบเป็นใบ 3 ใบ ใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เป็นขอบสีขาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น มีหูใบ 2 อันอยู่ระหว่างก้านใบด้านละอัน ลักษณะของใบทั่วไปคล้ายใบพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มียางสีขาวเท่านั้น
- ดอกพุดซ้อน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกพุดจีบ ดอกของพุดซ้อนจะเป็นสีขาวและมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบแหลม ปลายกลีบมนรี มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร เนื้อนุ่มและมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 ก้านรูปแถบ ติดที่ปลายหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว ยอดเกสรเป็นกระจุกแน่น รังไข่จะอยู่ใต้ฐานรองดอก ส่วนกลีบเลี้ยงมีประมาณ 5-8 แฉก ก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอก
- ผลพุดซ้อน ผลจะออกเป็นฝัก มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรงปลายจะแหลมและโค้ง ภายในจะมีเมล็ดประมาณ 3-6 เม็ด ถ้าแก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก และเมล็ดจะมีเยื่อหุ้มเป็นสีแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ราก, เปลือกต้น
สรรพคุณ พุดซ้อน :
- ใบ รสขมเย็น นำมาตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก พอกแก้ปวดศีรษะ ตำกับข้าวสุกพอกแก้เจ็บส้นเท้า
- ดอก รสขมเย็น นำมาคั้นเอาน้ำเพื่อทาแก้โรคผิวหนัง
- ราก รสขมเย็น ใช้รักษาอาการแก้ไข้ แก้ปวดฟัน แก้เลือดกำเดา เลือกออกตามไรฟัน แก้ปัสสาวะเป็นโลหิต ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน
- เปลือกต้น แก้บิด
- เนื้อไม้ รสขมเย็น ช่วยลดไข้