มะขาม

มะขาม

ชื่อสมุนไพร : มะขาม
ชื่ออื่น ๆ
: มะขามไทย(ภาคกลาง), ส่ามอเกล(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน),  ตะลูบ(นครศรีธรรมราช), อำเปียล(สุรินทร์), มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว
ชื่อสามัญ : Tamarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn.
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มะขาม เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้นและแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ
    มะขาม
  • ใบมะขาม เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่
  • ดอกมะขาม ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว
  • ผลมะขาม เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมว และอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, ใบแก่, ใบอ่อน, ดอก, เนื้อในผล, เมล็ดแก่

สรรพคุณ มะขาม :

  • เนื้อไม้  ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบ และใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น
  • ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้
  • เนื้อในผล  (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝัก นำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณ รับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน หรือฝี
  • เมล็ด นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]
ถ่ายพยาธิ ใช้เมล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือก แช่น้ำให้นิ่ม เคี้ยวรับประทานเช่นถั่ว
แก้ท้องผูก ใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง
แก้ไอ, ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน[/su_spoiler]

Scroll to top