ชื่อสมุนไพร : มะขามแขก
ชื่อสามัญ : Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alexandrina P. Miller
ชื่อวงศ์ : Fabaceae (Leguminosae–Caesalpinioideae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร ต้นมะขามแขกเป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อนมีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า
- ใบมะขามแขก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและรูปใบหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคุลมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
- ดอกมะขามแขก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง
- ผลมะขามแขก หรือ ฝักมะขามแขก ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบแห้ง และฝักแห้ง ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)
สรรพคุณ มะขามแขก :
- ใบ ถ่ายพิษเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน แก้ท้องผูก ขับลมในลำไส้ ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายแก้พิษไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก
- ฝัก ถ่ายแก้พิษไข้ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก แก้ริดสีดวงทวารหนัก ขับลมในลำไส้ แก้สะอึก
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]
ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ
ใช้วิธีบดใบแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย) เพื่อแต่งรสและบรรเทาอาการไซ้ท้อง
มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว[/su_spoiler]
[su_label]ข้อห้าม : ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน[/su_label]
[su_spoiler title=”สารเคมีที่พบ :” icon=”arrow”]ใบและฝักพบสารประกอบพวก anthraquinones เช่น sennoside A.B.C.D. aloe emodin , emodin , rhein , physcion , และสาร anthrones dianthrones[/su_spoiler]