มะซาง

มะซาง

ชื่อสมุนไพร :         มะซาง
ชื่ออื่นๆ
:                ซาง, หนามซาง
ชื่อวิทยาศาสตร์Madhuca pierrei (William) H.J.Lam
ชื่อวงศ์ :                Sapotaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะซาง เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ดและร่องลึก มียางสีขาว
  • ใบมะซาง เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันดูเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ ขนาด 5–10 × 12–21 เซนติเมตร โคนใบสอบและมักหยักเว้าเข้า ปลายใบป้าน หรือหยักเป็นติ่งเล็กน้อย แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1–2 เซนติเมตร
    มะซาง
  • ดอกมะซาง ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งเหนือกลุ่มใบ ก้านช่อดอกยาวราว 3 เซนติเมตร ดอกย่อยสีขาวมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ กลีบดอกมีโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เกสรตัวผู้มี 12 อัน รังไข่มี 6 ช่อง
  • ผลมะซาง เป็นผลกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 3 เซนติเมตร ปลายผลมีหลอดเกสรตัวเมียติดอยู่ เมื่อสุกมีรสหวาน รับประทานได้
    มะซาง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, แก่น

สรรพคุณ มะซาง :

  • ดอก มีกลิ่นหอมเย็น เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ
  • แก่น มีรสหวานเย็น แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ส่วนรากมีหวานเย็นเช่นกัน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. 2544. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิง จำกัด (มหาชน):กรุงเทพมหานคร.

ภาพประกอบ : 

  • ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2013). มะซาง. [Image]. Retrieved from http://npic-surat.com/web/
Scroll to top