มะระจีน

มะระจีน

ชื่อสมุนไพร : มะระจีน
ชื่ออื่นๆ :
ผักเหย, ผักไห, มะร้อยรู, มะห่อย, มะไห่, สุพะซู, สุพะเด
ชื่อสามัญ : Bitter Gourd ,Balsam apple, Leprosy Gourd,   Bitter melon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะระจีน เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นมีลักษณะเหลี่ยม เถาเลื้อยมีสีเขียว มีขนเล็กๆ จะมีมือเกาะบนเถา อยู่บริเวณใต้ข้อต่อของใบ รากเป็นระบบรากแก้ว รากมีลักษณะกลม แทงลึกลงดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆ แทงออกตามรอบๆ มีสีน้ำตาล มือเกาะมีลักษณะกลม เป็นเส้นเล็กๆ คล้ายหนวดขนาดเล็กๆ แตกออกบริเวณข้อใต้ใบของเถา จำนวนมือเกาะ 1 เส้นต่อข้อ ส่วนปลายมีขนาดเล็กสุดม้วนงอ จะม้วนงอเข้ายึดเกาะรอบข้าง ยึดลำต้นเพื่อเลื้อยแผ่ขึ้นที่สูง ใช้มือเกาะใช้ปลายหนวดม้วนใช้ยึดของ เป็นเกลียวพันรอบคล้ายสปริง
    มะระจีน
  • ใบมะระจีน เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันคนละข้างตามเถา มีลักษณะเป็นแฉกเว้าลึก 5-7 แฉก โคนใบมีลักษณะกลม มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว มีขนสากเล็กๆ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ
  • ดอกมะระจีน สีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน รูปแตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร
  • ผลมะระจีน มีลักษณะทรงยาวรี เปลือกบาง ผิวขรุขระมีร่องลึกตามยาว ผลใหญ่เนื้อหนา ผลดิบจะมีสีเขียวอ่อน ใช้รับประทาน เมื่อผลสุกจะมีสีแดง แต่รับประทานไม่ได้ ภายในผลจะมีหลายเมล็ด มีเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสชาติขม เมล็ดจะอยู่ภายในผล จะมีเมล็ดเล็กๆจำนวนมาก เรียงอยู่ข้างในผล เมล็ดมีลักษณะกลมแบนรี ผิวเรียบ เปลือกเมล็ดแข็ง สีน้ำตาล

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล

สรรพคุณ มะระจีน :

  • ใบ รสขม ต้มดื่มแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน บำรุงน้ำดี ดับพิษฝีที่ร้อน แก้ปากเปื่อยเป็นขุม
  • ผล รสขม แก้ตับม้ามพิการ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิในท้อง แก้ลมเข้าข้อ แก้ปวดบวมตามเข่า

มะระจีน

Scroll to top