ชื่อสมุนไพร : มังคุด
ชื่ออื่นๆ : แมงคุด, เมงก็อพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana Linn.
ชื่อวงศ์ : Guttiferae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นมังคุด เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง
- ใบมังคุด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า
- ดอกมังคุด ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ
- ผลมังคุด เป็นผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกผล, ยางจากผล, เนื้อหุ้มเมล็ด, ต้น, ใบ, ราก
สรรพคุณ มังคุด :
- ผล (เนื้อหุ้มเมล็ด) รสเย็นหวานอมเปรี้ยว บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในเนื่องจากรับประทานทุเรียน
- เปลือกผล รสฝาด เปลือกผลแห้งใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย แก้บิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง,
น้ำต้มจากเปลือกผล ใช้เป็นยากลั้วคอรักษาแผลในปากและชะล้างแผล, มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนองและต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง
บดเป็นผงหรือต้มหรือชงแก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้ท้องเสีย
ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลเน่าเปื่อยพุพอง สมานแผลสด
ต้มชำระล้างบาดแผล รักษาโรคน้ำกัดเท้า - ยางจากผล รสฝาด รับประทานแก้บิด ท้องร่วง ใส่แผลที่เป็นหนอง
- ต้น รสฝาด ทุกส่วนของลำต้นเป็นยาฝาดสมาน ยางจากต้นเป็นยาถ่ายอย่างแรง, น้ำต้มจากเปลือกต้นและ
- ใบ อมกลั้วคอแก้แผลในปากและลดไข้
- ราก ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ รักษาโรคบิดมูกเลือด