รกฟ้า

รกฟ้า

ชื่อสมุนไพร : รกฟ้า
ชื่ออื่น ๆ
: เซือก เซียก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฮกฟ้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เชือก (สุโขทัย), กอง (สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, สงขลา), สพิแคล่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชะลีก (เขมร-บุรีรัมย์, เขมร-พระตะบอง), จะลีก (เขมร-บุรีรัมย์), คลี้ (ส่วย-สุรินทร์), ไฮ่หุ้นกร่ะ เคาะหนังควาย (ปะหล่อง), หกฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia alata Heyne ex Roth.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นรกฟ้า เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น ซึ่งแน่นทึบ เปลือกของลำต้น จะเป็นสีเทาค่อนข้างดำ และแตกเป็นสะเก็ด ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 10-30 เมตร
    รกฟ้า
  • ใบรกฟ้า จะเป็นสีเขียว เมื่อใบยังอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาล ปกคลุมประปราย แต่เมื่อแก่ขนนี้ก็จะหลุดร่วงรกฟ้าไปเอง ลักษณะของใบจะเป็นรูปมนรี ตรงปลายใบและโคนใบจะมน ตรงปลายจะเป็นติ่งทู่ ๆ ยาวออกมาเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่น ๆ ใบจะมีความกว้างประมาณ 3-5 นิ้ว และยาว 5-12 นิ้ว

 

 

  • ดอกรกฟ้า เวลาที่รกฟ้าจะออกดอกนั้น จะต้องผลัดใบออกหมดก่อนแล้วดอกจะแตกออกเป็นสีขาวสะพรั่งเต็มต้น ดอกของพรรณไม้นี้จะออกเป็นช่อ ๆ และมีขนาดเล็ก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
  • ผลรกฟ้า จะเป็นแบบผลแห้ง แข็ง มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร จะมีปีกหนาและเป็นมัน กว้างกว่าผลประมาณ 5 เซนติเมตร จะมีเส้นปีกลากจากแกนกลาง ไปยังขอบปีกในแนวราบ เป็นจำนวนมาก ภายในผลจะมีอยู่ 1 เม็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก,  เปลือกต้น

สรรพคุณ รกฟ้า :

  • ราก ใช้ขับเสมหะ
  • เปลือกต้น นำไปต้มน้ำกินรักษาอาการท้องร่วง อาเจียน ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด และใช้ชะล้างบาดแผล

 

ประโยชน์

  • ไม้เนื้อแข็งขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำพื้น คาน เฟอร์นิเจอร์ ด้ามเครื่องมือ โดยเฉพาะที่ใช้ในน้ำเปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง
Scroll to top