ชื่อสมุนไพร : ราชาวดีป่า
ชื่ออื่นๆ : เกี๊ยงพาไหล, ไคร้หางหมา, ดอกฟู, หญ้าน้ำแป้ง, หัวเถื่อน, ไคร้บก, ดอกด้ายน้ำ, ปวกน้ำ, ดอกด้ายหางหมา, ฟอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buddleja asiatica Lour.
ชื่อวงศ์ : BUDDLEJACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นราชาวดีป่า เป็นไม้พุ่ม กิ่งโปร่ง สูง 1-5 เมตร
- ใบราชาวดีป่า เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปหอกแคบ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว ขอบใบหยัก ท้องใบมีขน
- ดอกราชาวดีป่า ดอกสีขาว ออกจากซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อยาว 10-15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกัน กลีบดอกเป็นหลอดขนาดเล็ก ยาว 0.4-0.8 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรตัวผู้ 4 อัน จะติดอยู่ภายในท่อดอก ก้านเกสรจะสั้น และมีอับเรณูเป็นรูปไข่ ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน ภายในจะมีอยู่ 2 ช่อง
- ผลราชาวดีป่า ผลแห้งจะไม่มีเนื้อ มีลักษณะเป็นรูปรี มีความยาวประมาณ 6 มม. ภายในจะมีเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ลำต้นและราก
สรรพคุณ ราชาวดีป่า :
- ทั้งต้น รสเฝื่อร้อน แก้โรคผิวหนัง ขับโลหิตระดู ทำให้แท้ง
- ลำต้น และราก ใช้ผสมสมุนไพรอื่นต้มดื่มแก้ไข้