ชื่อสมุนไพร : รำเพย
ชื่ออื่นๆ : กะทอก, บานบุรี(กทม.), แซน่าวา, แซะศาลา, รำพน(เหนือ), ยี่โถฝรั่ง(กทม.,กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thevetia peruviana (Pers.) Schum.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นรำเพย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 ม. ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่ม เรือนยอดทรงกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเป็นพิษ
- ใบรำเพย ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้น แผ่นใบหนา เป็นมัน
- ดอกรำเพย ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง สีขาวหรือสีส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อย 3-4 ดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3-4 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ เป็นแฉกคล้ายรูปดาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก เรียงเกยกัน ปลายแหลม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
- ผลรำเพย รูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตร เป็นสันหนา มีรอยผ่ากลางเป็นแนวยาว ผิวเรียบ สีเขียว สุกเป็นสีดำ ซึ่งเป็นพิษทั้งผล เมล็ด มี 1-2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เมล็ด, เปลือกต้น, ต้น
สรรพคุณ รำเพย :
- ใบ รสเอียนเมา เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน
- เมล็ด รสเมาเบื่อ ใช้เล็กน้อยบำรุงหัวใจ ใช้มากเป็นพิษทำให้หัวใจเป็นอัมพาต ลำไส้เล็กบีบตัว ตัวเย็นถึงตาย
- เปลือกต้น รสขมเอียน แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาถ่าย
- ต้น รสเอียนเมา แก้โรคผิวหนัง แก้หลอดลมอักเสบ